พิพิธภัณฑ์ศิลปะลับด้านกามารมณ์แห่งเนเปิลส์

เมื่อซากอารยธรรมโรมันโบราณของเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมเมืองที่เคยจมหายไปกับลาวาจากการปะทุของภูเขาไฟถูกขุดขึ้นมาจากภูเขาวิซุเวียส ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 มีการค้นพบร่องรอยอารยธรรมเหล่านี้ ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้บ่งบอกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือความหลงใหลในเรื่องเพศ ความใคร่ และกามารมณ์

นี่ไม่ใช่ประติมากรรมเปลือยอย่างที่เราเคยเห็นกันอย่างรูปปั้น “เดวิด” ประติมากรรมชื่อดังของไมเคิลแองเจโล แต่เป็นเทพเจ้ากรีกครึ่งแพะ ซึ่งงานศิลปะเหล่านี้เป็นภาพวาดครึ่งแพะครึ่งมนุษย์และเรื่องอื้อฉาวทางเพศอย่างการล่วงประเวณี จิตรกรรมฝาผนังของคู่รัก ไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์กับแพะ

 

 

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าชาวโรมันโบราณมีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างเปิดเผย และเสรี ซึ่งเมืองปอมเปอีก็มีธุรกิจทางเพศขนาดใหญ่จำนวนมากมีซ่องโสเภณีหลายสิบแห่ง ที่ผนังถูกประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่เร้าอารมณ์ เครื่องรางรูปลึงค์ซึ่งห้อยอยู่ที่คอของชาวเมืองปอมเปอีไปจนถึงเทพเจ้าด้านกามารมณ์ และงานศิลปะแนวนี้จัดแสดงอยู่เกือบทุกบ้าน

วัสดุทางเพศที่แสดงอย่างตรงไปตรงมานี้ชัดเจนจนสร้างความลำบากใจและความตกตะลึงแก่หมู่ประชาชนในศตวรรษที่ 18 ทำให้กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 แห่งบูร์บองถ่ายทอดคำสั่งให้นำโบราณวัตถุลามกอนาจารเหล่านี้เก็บไว้ในตู้ลับ และไม่ให้ผู้ใดรับรู้

 

 

ในเวลาต่อมามีเพียงคณะรัฐมนตรีลับหรือ “gabinetto segreto” เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตจากพระมหากษัตริย์ให้เห็นและดูแลวัตถุทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ แต่ศิลปะทางกามารมณ์ก็ยังคงปิดเป็นความลับ และถูกสั่งห้ามไม่ให้สังคมภายนอกรับรู้ จนกระทั่งหลังการเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านี้จากพิพิธภัณฑ์ปอร์ตีชีมายังพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติเนเปิลส์ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1871 ใจกลางของเมืองเนเปิลส์ แต่เนื่องจากศิลปะเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับนัก อีกทั้งพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสเคยพาพระชายาพร้อมพระธิดาไม่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และพบการจัดแสดงศิลปะนี้เข้าทำให้พระชายาและพระธิดาตกใจเป็นอย่างมาก ด้วยความอายพระองค์จึงสั่งให้ปิดการจัดแสดงศิลปะส่วนนี้และไม่ให้สตรีหรือเยาวชนเข้าชม

ต่อมาอีกประมาณ 200 ปี พิพิธภัณฑ์ลับส่วนนี้ปิดทำการเป็นส่วนใหญ่ และเปิดทำการเป็นเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่ครั้ง จนกระทั่งเปิดตัวในปี 1960 แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ และในที่สุดปี 2000 คอลเลกชันทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ก็ถูกนำออกมาแสดงอีกครั้งและเปิดต่อสาธารณชนทั้งชายและหญิง

 

(1443)