ในปี 1324 Mansa Musa ผู้ปกครองในตำนานของอาณาจักรแอฟริกาตะวันตกอันกว้างใหญ่ของมาลี เดินทางไปแสวงบุญในเมกกะ แต่เขาไม่ได้ไปเพียงลำพัง คาราวานของเขาประกอบด้วยผู้คนถึง 60,000 คน รวมถึงคนรับใช้ 12,000 คน บริวารอีก 8,000 คน และอูฐอีก 100 ตัวที่บรรทุกกระสอบทองคำจนเต็มหลัง ยังไม่นับรวมทองคำรูปแบบต่างๆ ที่บริวารแบกไปด้วย
เมื่อมูซาไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ความร่ำรวยของเขาก็ยิ่งปรากฏชัด บางแหล่งบันทึกว่านอกจากอูฐ 100 ตัวที่บรรทุกทองคำ 135 กิโลกรัมแล้ว ทาส 500 คนก็มีไม้เท้าทองคำหนัก 2.7 กิโลกรัมเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีอูฐอีกหลายร้อยตัวที่บรรทุกผ้าไหมล้ำค่าและวัสดุอื่นๆ
Gus Casely-Hayford ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะแอฟริกันแห่งชาติของสถาบันสมิธโซเนียน กล่าวว่า “ในแต่ละคืนที่พวกเขาหยุดพักเหมือนมีเมืองแห่งใหม่สร้างขึ้นในทะเลทราย พวกเขามีสิ่งจำเป็นครบถ้วนในการสร้างที่พักและมัสยิดเคลื่อนที่เพื่อให้เจ้านายได้ละหมาด”
ระหว่างทางไปเมกกะเขาได้มอบของขวัญเป็นทองคำให้กับใครก็ตามที่เขาพบ ตั้งแต่คนยากจนไปจนถึงข้าราชการในกรุงไคโร และเมื่อมูซาได้พบกับสุลต่านแห่งอียิปต์เป็นครั้งแรก เขาก็มอบของขวัญถึง 50,000 เหรียญทอง การใช้จ่ายของเขามากเสียจนทำลายเศรษฐกิจในท้องถิ่น แต่เขาก็มีวิธีแก้ไขปัญหาที่แปลกประหลาดอยู่เหมือนกัน
การใช้จ่ายและบริจาคอย่างใจกว้างทำให้ทองคำจำนวนมากเข้าสู่ตลาดจนราคาดิ่งลง ส่งผลให้ราคาสินค้าและสินค้าอื่นๆ สูงขึ้น ท้องภาระให้อียิปต์ต้องใช้เวลาถึง 12 ปีในการฟื้นเศรษฐกิจ ขาไปไม่พอ ขากลับเขาก็ผ่านอียิปต์อีก (แล้วหรอ?) เมื่อเขาผ่านอียิปต์รอบนี้เขาพยายามรับผิดชอบในการช่วยเศรษฐกิจของประเทศด้วยการกู้ยืมทองคำคืนจากผู้ให้กู้เงินในกรุงไคโรด้วยอัตราดอกเบี้ยมหาโหด
ความมั่งคั่งของ Mansa Musa มีที่มาจากเหมืองทองคำขนาดใหญ่ในมาลี ทำให้ในเวลานั้นมาลีเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดในโลก อาณาจักรอันกว้างใหญ่ของเขาแผ่ขยายออกไปประมาณ 2,000 ไมล์ จากมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงไนเจอร์ในปัจจุบัน เป็นรองด้านขนาดเพียงอาณาจักรมองโกลเท่านั้น
มูซาขึ้นสู่อำนาจในปี 1312 และสืบทอดอาณาจักรที่มั่งคั่งอยู่แล้ว แต่เมื่อเขาขึ้นปกครองอาณาจักร เขาก็ขยายการค้าจนทำให้มาลีเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยที่สุดในแอฟริกา ความมั่งคั่งของเขามาจากการขุดแหล่งเกลือและทองคำจำนวนมากในอาณาจักรมาลี และงาช้าง ก็เป็นแหล่งความมั่งคั่งที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง
เมื่อเดินทางกลับจากเมกกะ พระองค์ทรงนำนักวิชาการและ Abu Es Haq es Saheli สถาปนิกชาวอันดาลูเซียจากไคโร มาสร้างมัสยิดอันยิ่งใหญ่ Djinguereber ในเมือง Timbuktu มีรายงานว่ามูซาจ่ายทองคำให้กับซาเฮลีถึง 200 กิโลกรัมสำหรับการออกแบบและสร้างมัสยิด เวลาต่อมา Timbuktu ก็กลายเป็นศูนย์กลางของการค้า วัฒนธรรม และการเรียนรู้ในที่สุด
ที่มา Amusing Planet
(1385)