วิศวกรผู้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของสหภาพโซเวียต #ดาวเทียมสปุตนิก1 ดาวเทียมดวงแรกของโลก

ดาวเทียมดวงแรกถือกำเนิดจากการแข่งขันกันระหว่างชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง เซียร์เกย์ ปัฟโลวิช โคโรเลฟ (Sergei Pavlovich Korolev) วิศวกรผู้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของสหภาพโซเวียต ได้สร้างดาวเทียมสปุตนิก 1(Sputnik 1) ขึ้น และถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรี ในเดือนตุลาคมปี 1957 ด้วยจรวด อาร์-7 จากฐานยิงในทะเลทรายคีซิลคุม ไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน

สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นไปเพื่อสาธิตเทคโนโลยี มีรูปร่างทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม. ทำด้วยอะลูมิเนียมหนัก 84 กิโลกรัม มีเสาอากาศวิทยุภายนอก 4 เสาเพื่อกระจายคลื่นวิทยุ

การติดตามและการศึกษาดาวเทียมสปุตนิก 1 จากโลก ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนำข้อมูลมาศึกษาความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นบน โดยอนุมานได้จากวงโคจรและการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์

ความสำเร็จของดาวเทียมดวงนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญในการบุกเบิกยุคอวกาศ เนื่องจากมันได้ทำให้เกิดวิกฤติการณ์สปุตนิกในหมู่ชาวอเมริกัน และทำให้การแข่งขันด้านอวกาศกลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น การเปิดตัวนี้นำมาซึ่งการพัฒนาด้านการเมือง การทหาร เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ตามมาอีกมากมาย

สัญญาณของสปุกนิกยังคงปรากฏเป็นเวลา 21 วันจนแบตเตอรี่ของเครื่องส่งสัญญาณจะหมดลงในวันที่ 26 ตุลาคม 1957 มันถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศในวันที่ 4 มกราคม 1958 หลังจากโคจรรอบโลกเป็นเวลา 3 เดือน โดยสามารถโคจรครบรอบวงโคจรได้ทั้งหมดถึง 1440 รอบ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70 ล้านกิโลเมตร

ปัจจุบันโคโรเลฟ ผู้ออกแบบดาวเทียมดวงนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งโครงการอวกาศของรัสเซีย”

งานประติมากรรมแกะสลักส่วนทรงหน้าและไหล่ของ เซียร์เกย์ ปัฟโลวิช โคโรเลฟ 

ที่มา  ESA , spuniknews ภาพจาก Alex Lane

(2250)