เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (, Countess of Lovelace) เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เกิดในปี 1815 แต่หลังจากนั้นไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ ๆ ทั่วไปของอังกฤษ
พออายุ 17 ปี ขณะอยู่ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ก็มีผู้แนะนำให้เอดารู้จักกับกลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ จนได้รู้จักกับ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ซึ่งเรียนจบด้านคณิตศาสตร์โดยตรง
ในงานวันนั้น มีคำกล่าวของแบบเบจว่า “จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย” แต่ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบเบจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ
©Alfred Edward Chalon
หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งในช่วงสิบปีทั้งเอดาและแบบเบจยังคงเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในปัจจุบัน เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย
ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบเบจให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมือ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ซับซ้อนและโด่งดังขึ้นมา โดยในปี 1843 เอดาได้สร้างภาษาสำหรับออกคำสั่งให้กับเครื่องกลด้วยการ์ดเจาะรู และตีพิมพ์ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้การ์ดเหล่านี้ขึ้นเป็นครั้งแรก
© Chris Monk
ต่อมา แผนการทำงานที่แบบเบจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกด้วย แต่สุขภาพของเธอเริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปีเท่านั้น
ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้ทำความรู้จัก ไปจนถึงอาสาช่วยงาน และอุปการะนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคนด้วย เช่น เซอร์ เดวิด บริวสเตอร์ คนคิดคาไลโดสโคป, ชาลส์ วีตสตัน, ชาลส์ ดิกคินส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์
อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1979 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอ ว่า ภาษา “ADA”
ภาพปกโดย lives of great wo(men)
(7549)