ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทย และคนจีน สองชาติพันธุ์ที่ผูกพันกันมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ ทำให้วัฒนธรรมและค่านิยมต่าง ๆ ถ่ายทอดเข้ามาภายในประเทศ เช่น วันตรุษจีน เทศกาลกินเจ เทศกาลเช็งเม้ง และอีกหลากหลาย วัฒนธรรมจีนที่ถูกส่งต่อมานี้ได้หล่อหลอมรวมกับความเป็นไทย ก่อเกิดสายสัมพันธ์อันเหนียวแน่นที่ไม่เหมือนกับชาติใดในโลก
ตั้งแต่ในอดีต คนจีนได้บางส่วนอพยพจากจีนเข้ามาในประเทศไทยเมื่อนานมาแล้ว ในระหว่างศตวรรษที่ 8 และ 10 โดยมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในตอนแรกพวกเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ก่อนจะมีชาวจีนบางส่วนที่ออกเรือเดินทางมาค้าขาย แล้วลงหลักปักฐานทางภาคใต้ของไทย และกระจายไปตั้งอยู่ในที่ราบภาคกลางของประเทศ จนทุกวันนี้ผู้สืบเชื้อสายชาวจีนได้มีจำนวนนวนมากจนก่อเกิดชุมชน และเทศกาลของชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ และมีอิทธิพลเป็นอันดับสองของประชากรคนไทยทั้งหมด
ในศตวรรษที่ 13 พ่อค้าชาวจีนได้เดินเรือมายังอาณาจักร เพื่อทำธุรกิจค้าขาย อีกทั้งทั้งสองประเทศยังมีเป้าหมายร่วมกันซึ่งก็คือเป็นศัตรูกับพม่านั่นเอง เนื่องจากกองทหารพม่ามีอำนาจ และเป็นภัยคุกคามต่อทั้งอยุธยาและจีน ดังนั้นจีนจึงส่งกองทัพบางส่วนไปยังอยุธยาทางใต้เพื่อช่วยกำจัดภัยคุกคามจากพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็มีเชื้อสายจีนด้วยเช่นกัน ในสมัยของพระองค์ชาวจีนก็เป็นผู้สนับสนุนการอพยพและการค้ากับประเทศจีน ซึ่งสิ่งนั้นก็เป็นการเพิ่มพูนอิทธิพลของพวกเขาในการค้าขายและทำธุรกิจของตนเองทั่วราชอาณาจักร
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวจีนอพยพเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนสูงขึ้นทำให้หลายคนที่อพยพมานั้นไปแต่งงานและสร้างครอบครัวที่ไทย ซึ่งประชากรของจีนในประเทศไทยนั้นมีจำนวนมากกว่าเดิมสามเท่าในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 คิดเป็น 12.2% ของประชากรทั้งหมดในปี 1932 สิ่งเหล่านี้ทำให้วัฒนธรรมจีนนั้นปรากฏชัดขึ้นในทุกระดับของสังคมไทยตั้งแต่การเฉลิมฉลองวันตรุษจีน เทศกาลกินเจ และวัดจีนที่พบได้ทั่วประเทศ
(1822)