การค้นพบใหม่ที่อาจเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแกะสลักโมอายบนเกาะอีสเตอร์

หลายร้อยปีที่ผ่านมาหินแกะสลักโมอายได้ยืนหยัดอยู่บนเกาะอีสเตอร์และยังคงกลายเป็นปริศนามาตลอด แม้ว่าจะมีการศึกษามากมายเพื่อค้นหาคำตอบ และมีการค้นพบใหม่ๆ ไม่มากนัก

หินเหล่านี้ถือเป็นหลักฐานของชาว Polynesian ที่อาศัยอยู่บนเกาะ แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถระบุเรื่องราวที่ชัดเจนเกี่ยวกับพวกเขาได้ หลังจากมีการค้นพบลำตัวที่จมอยู่ใต้ดินของรูปแกะสลักเมื่อไม่กี่ปีก่อน ตอนนี้ทีมนักวิจัยจากนานาชาติได้ค้นพบสิ่งใหม่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับหุ่นเหล่านี้

Credit Andrew Harper Travel

หุ่นทำมาจากแหล่งที่ชื่อว่า Rano Raraku ซึ่งเป็นปล่องภูเขาไฟที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของเกาะ ซึ่งเป็นแหล่งหินเพียงแหล่งเดียวที่ถูกนำมาแกะสลัก แต่วัตถุในบริเวณนี้ไม่ได้มีแค่หินเท่านั้น จากการศึกษาตัวอย่างดิน Sarah Sherwood นักวิจัยจาก University of the South ใน Sewanee รัฐเทนเนสซี พบว่า ในหินเหล่านั้นมีสารเคมีบางอย่างในระดับสูง  เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช และจำเป็นสำหรับการสร้างผลผลิตในปริมาณสูง

เดิมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเมืองแห่งนี้เป็นเพียงสถานที่เก็บรูปสลักชั่วคราว ก่อนที่จะมีการขนย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของเกาะ แต่จากการสำรวจบริเวณเหมืองพบว่ายังมีรูปสลักอีกเกือบ 400 ตัวที่ยังอยู่ที่นี่ และบางส่วนที่ถูกฝังไว้ใต้ดินโดยมีโครงสร้างหินรองรับ ทำให้พวกเขาแน่ใจว่าเป็นการฝังไว้ที่นี่อย่างจงใจ

Easter Island Statue Project

แร่ธาตุในดินบริเวณอื่นของเกาะมักจะหายไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากการดูดซึมของพืช แต่ในเหมืองหินแห่งนี้กระบวนการเคลื่อนที่ของชั้นหินใต้ดินทำให้เกิดระบบหมุนเวียนของน้ำและแร่ธาตุตามธรรมชาติอยู่เสมอ นอกเหนือจากหลักฐานเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว นักวิจัยยังพบร่องรอยของพืชโบราณในตัวอย่างด้วย เช่น กล้วย เผือก มันเทศ และปอสากระดาษ

นั่นคือสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าพื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้ใช้เพื่อสร้างรูปแกะสลักหินเพียงอย่างเดียว แต่ชาวเกาะยังใช้พื้นที่แห่งนี้ในการเพาะปลูกด้วย โดยเฉพาะอาหารที่เป็นที่ต้องการสูง เนื่องจากในดินมีสารอาหารมากพอที่จะผลิตอาหารได้เป็นจำนวนมากในต้นทุนที่ต่ำลง

Easter Island Statue Project

มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลนี้ว่าหน้าดินบริเวณปล่องอาจถูกขนย้ายออกไปเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต แล้วทำไมยังต้องมีรูปแกะสลักถูกฝังไว้ในบริเวณนี้ด้วย ในเมื่อที่นี่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของหินอันอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว? ซึ่งนั่นเชื่อมโยงกับความเชื่อในข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ที่ว่า พิธีกรรมการสร้างหินเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

Jo Anne Van Tilburg จาก UCLA กล่าวว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปจากความคิดเดิมของเหล่านักประวัติศาสตร์ก็คือ ความจริงแล้วรูปแกะสลักที่พบในเหมืองแห่งนี้ไม่ใช่หุ่นที่รอการขนย้าย แต่มันถูกฝังไว้ที่นี่อย่างจงใจต่างหาก โมอายถูกตั้งไว้ในเหมืองเพื่อให้แน่ใจว่าธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ของเหมืองจะไม่หายไปไหนนั่นเอง

ที่มา Science alert

ภาพปก mendozapost

(7565)