หนังปลานิลใช้รักษาแผลไฟไหม้ ได้อย่างไร

นักวิจัยชาวบราซิลกำลังศึกษาการใช้หนังปลานิลมารักษาผิวตั้งแต่ปี 2014 ปลาชนิดนี้มีพื้นเพมาจากทางตอนเหนือของแอฟริกา และเมื่อไม่นานได้เริ่มทดลองใช้หนังปลานิลแทนการปลูกถ่ายผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ เนื่องจากมีคอลลาเจนสูง และยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าโดยหนังปลานิลต้องผ่านขบวนการทำความสะอาดทางการแพทย์ก่อน และจากสถิติขององค์การอนามัยโลก มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 180,000 คน จากคดีเผาไหม้ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางอย่างแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันการรักษานี้ได้รับการจดสิทธิบัตรระดับนานาชาติที่ “Instituto José Frota” (สถาบัน José Frota) (IJF) ใน Fortaleza ซึ่งมีผู้ใหญ่ 120 คน และเด็ก 30 คนได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมนี้แล้วในปีพ. ศ. 2561 เทคนิคดังกล่าวกำลังขยายไปสู่ผู้ป่วยโรงพยาบาลในตัวเมืองอย่าง Goiânia, Recife, Bauru และ Curitiba นอกจากนั้นจะทำการทดสอบกับการบาดเจ็บประเภทอื่น ๆ เช่น แผลกดทับ แผลกดทับเส้นเลือดขอด และแผลเบาหวาน

Odorico Moraes ผู้ประสานงานของศูนย์วิจัย และพัฒนายามหาวิทยาลัย Ceará Federal กล่าวว่า “เราแสดงให้เห็นแล้วว่าหนังปลานิลบรรลุผลที่ดีในการรักษาแผลไฟไหม้ได้อย่างไร ตอนนี้เราต้องดำเนินกระบวนการทดสอบอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเสนอสิ่งที่เป็นไปได้และมีประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง”

จากการทดลองและการวิเคราะห์ทางผิวหนังปลานิลในระยะแรกของการวิจัยพบว่าหนังปลานิลมีคอลลาเจนปริมาณมาก ซึ่งมากกว่าผิวหนังมนุษย์ 1 – 2 เท่า และยังเร่งกระบวนการบำบัดได้ นอกจากนั้นผิวนี้ยังมีความต้านทานต่อการแห้งแตกและความชื้นในระดับสูงซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับการตัดแต่งแผล

“ผิวปลานิลช่วยในกระบวนการบำบัดโดยการปิดแผล ซึ่งทำให้การสูญเสียของเหลวลดน้อยลงและลดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยได้อีกด้วย” เอ็ด มาร์เชียล ศัลยแพทย์พลาสติกผู้เป็นประธานของ Instituto de Apoio ao Queimado และผู้ประสานงานของเฟสคลินิกของการศึกษาวิจัยยืนยัน

ข้อดีอีกอย่างคือ มันมาจากผิวหนังของสัตว์น้ำที่ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคเมื่อเทียบกับหนังสัตว์ชนิดอื่น นักวิจัยทั่วโลกได้ค้นคว้าและวิจัยกับหนังสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น หนังหมู และกบ แต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและข้อจำกัด ด้านค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีการสังเคราะห์หนังเทียมประเภทอื่น ๆ เช่น โฟมโพลียูรีเทน ที่ใช้ยาซึ่งช่วนในการซ่อมแซมผิวได้อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามราคาของพวกมันค่อนข้างแพง

อย่างไรก็ตามความท้าทายหลักคือการปรับเปลี่ยนกระบวนการรักษาในสภาการแพทย์ “เราหวังว่าจะปรับเปลี่ยนกระบวนจากการใช้ครีมบรรเทาอาการเจ็บปวดมาเป็นการปลูกถ่ายผิวหนังโดยใช้หนังปลานิล”

“ถึงตอนนี้เรายังไม่ได้สังเกตความผิดปกติใด ๆ จากการใช้หนังปลานิล และเรากำลังศึกษาวิธีการปรับสภาพผิวเพื่อปรับปรุงการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยสะดวกสบายยิ่งขึ้น” เอ็ด มาร์เชียล กล่าว และเน้นย้ำการศึกษาวิจัยเทคนิคนี้ได้รับการพัฒนาในประเทศบราซิล และแนะนำใน 32 ประเทศรวมถึงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติอีก 11 ภาษา

 

(9094)