ปริศนาแห่งป้ายหลุมศพ

ป้ายหลุมศพลักษณะแปลกตานี้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ Samuel Bean หมอชาวแคนาดาสูญเสียภรรยาสองคนแรกของเขา Henrietta และ Susanna ภายใน 20 เดือนของการอยู่ร่วมกัน เขาตัดสินใจว่าวิธีที่ดีที่สุดในการให้เกียรติพวกเขาคือการสร้างหลุมฝังศพที่อุทิศให้กับงานอดิเรกที่พวกเขาทั้งคู่ต่างชื่นชอบ ซึ่งก็คือ การไขปริศนา ซามูเอลให้พวกเขาฝังศพเคียงข้างกันในสุสานรัชเชสใกล้ครอสชิลล์ เมืองเลสลีย์ รัฐออนแทรีโอ และมีป้ายหลุมศพเดียววางอยู่เหนือหลุมศพของพวกเขา และเป็นปริศนาที่ทำให้นักประวัติศาสตร์งุนงง และทำให้นักถอดรหัสมือสมัครเล่นสับสนไปอีก 80 ปีต่อมา

แบบจำลองของหลุมศพสามารถเยี่ยมชมได้ในสุสาน Rushes เนื่องจากหินเดิมนั้นผุกร่อนอย่างรุนแรง จึงถูกแทนที่ด้วยหินแกรนิตที่ทนทานนี้เมื่อปีค.ศ. 1982 ป้ายหินมีความสูงประมาณ 3 ฟุต และรูปมีนิ้วชี้ไปที่ท้องฟ้าด้วยคำว่า “Gone Home” เหนือชื่อผู้หญิงสองคน ส่วนภายใต้ชื่อคือตารางที่แกะสลักด้วยตัวเลขและตัวอักษรแบบสุ่ม 225 ตัว

แน่นอนว่าดร. ซามูเอล จะต้องได้รับการร้องขอมากมายให้เปิดเผยความหมายของข้อความลึกลับนี้ แต่เขาก็ไม่เคยบอกใคร จนกระทั่งในปี 1904 ขณะที่เที่ยวในคิวบา เขาตกจากเรือและจมน้ำเสียชีวิต ทำให้ความลับของรหัสป้ายหลุมศพหายไปตลอดกาล

ในปี 1947 ประมาณ 80 ปีหลังจากที่ภรรยาของเขาถูกฝัง ปริศนาถูกถอดรหัสเป็นครั้งแรกโดยผู้ดูแลสุสาน John L. Hammond ซึ่งเป็นเจ้าของหลุมฝังศพที่อยู่ใกล้ๆ แฮมมอนด์ได้คัดลอกจารึกกลับไปคิดที่บ้านและในช่วงหลายเดือนต่อมาเขาก็คิดออก

ในการแก้ไขปริศนาเริ่มต้นที่คอลัมน์ที่เจ็ดจากด้านซ้ายและที่ตัวอักษรที่เจ็ดจากด้านบนและอ่านด้วยวิธีซิกแซก หากแก้ไขอย่างถูกต้องแล้วควรอ่านได้ว่า:

“ในความทรงจำ HENRIETTA ภรรยาคนที่ 1 ของ Samuel Bean M. D. ผู้เสียชีวิตวันที่ 27 กันยายน 1865 อายุ 23 ปี 2 เดือนและ 17 วัน & SUSANNA ภรรยาลำดับที่2ของเขา ผู้เสียชีวิตวันที่ 27 เมษายน 1867 อายุ 26 ปี 10 เดือนและ 15 วัน ภรรยาผู้ประเสริฐทั้งสองคนที่ผู้ชายคนนี้ไม่คิดว่าจะได้พบเจอ พวกเขาเป็นของประทานจากพระเจ้าแต่ตอนนี้อยู่ในสวรรค์ ขอพระเจ้าช่วยให้ฉันได้พบพวกเขาที่นั่น”

อย่างไรก็ตามปริศนาดังกล่าวมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยเนื่องจาก TheRecord.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีความแตกต่างระหว่างตัวอักษรสองตัว ในบรรทัด 7 คอลัมน์ 8 “D” ดั้งเดิมกลายเป็น “E” บนตัวคัดลอก ตามที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อผิดพลาดที่อยู่ในบรรทัดที่ 8, คอลัมน์ที่ 14, หินแสดงตัว “B” แต่สิ่งนี้ไม่มีในปริศนา หากมี “O” คำว่า “SO” จะสมบูรณ์ ในวลีสุดท้ายของปริศนา ซามูเอลอาจสลักตัวอักษรปลอมบนหินอ่อนเพื่อสร้างความสับสนให้กับผู้ถอดรหัสเป็นครั้งสุดท้าย

แต่ดร. ซามูเอล ไม่ได้เป็นคนแรกที่รวมปริศนาเข้ากับป้ายหินในลักษณะนี้ ที่ปลายด้านตะวันออกของสุสานโบสถ์เซนต์แมรี ในเมืองมอนมอน ประเทศเวลส์ก็มีหลุมศพของ John Renie จิตรกรประจำบ้านผู้เสียชีวิตในปี 1832 ซึ่งป้ายหลุมศพของเรนี่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักปริศนา 285 ตัวอักษร จากตัว H ขนาดใหญ่บนกลางตาราง มีประโยคว่า “Here lies John Renie” อาจอ่านได้ทุกทิศทาง ประโยคนั้นสามารถอ่านได้ทั้งหมด 46,000 วิธีที่แตกต่างกัน มีความเชื่อกันว่า Renie แกะสลักหินด้วยตัวเอง เป็นไปได้ที่จะสร้างความสับสนให้ปีศาจ เพื่อให้ตัวเขาเองมั่นใจว่าจะเดินทางสู่สวรรค์ได้อย่างปลอดภัย

จารึกอีกแห่งถูกพบในโบสถ์ซานซัลวาดอร์ ในเมืองโอเบียโดของสเปน มีหลุมฝังศพที่มีวลีภาษาละตินว่า “SILO PRNCEPS FECIT” จารึกไว้บนนั้น ในลักษณะที่สามารถอ่านได้ด้วย 270 หรืออาจมากถึง 2024 วิธีที่แตกต่างกันอีกด้วย

ที่มา amusingplanet

(2406)