นักวิจัยเผย ‘ พิษแมงป่อง ‘ อาจใช้รักษาโรคได้ในอนาคต

นักวิจัยจากศูนย์วิจัยโรคมะเร็ง Fred Hutchinson  ในเมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน  ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบสารชนิดหนึ่งในพิษของแมงป่องที่สามารถรักษาข้อกระดูกส่วนต่างๆ อย่าง หัวเข่า หัวศอก ไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ฯลฯ ได้

นักวิทยาศาสตร์พบโปรตีนขนาดเล็กในพิษของแมงป่อง ที่เมื่อนำมาผสมเข้ากับสเตียรอยด์แล้วฉีดเข้าไปในหนูทดลองที่มีอาการโรคไขข้อ พบว่าตัวยานี้สามารถรักษาข้อต่อได้ และสามารถต้านการเป็นพิษทั่วร่างกายเนื่องจากผลข้างเคียงของสเตียรอยด์ได้อีกด้วย

ตัวยารักษาโรคกระดูกในปัจจุบัน เป็นการผสมผสานกันของโปรตีน ซิสตินเดนซ์ เป็ปไทน์ ( Cystine-Dense Peptines หรือ CDPs ) ซึ่งถูกใช้เป็นสเตียรอยด์รักษาโรคข้อกระดูกนิ้วมือโดยเฉพาะ พวกเขาพบว่า พิษของแมงป่องกับสเตียรอยด์ CDPs ทำให้เกิดปฏิกิริยาการต้านกันของสารและช่วยบรรเทาฤทธิ์ของยาให้ลดลงได้ เนื่องจากสเตียรอยด์ที่คอยช่วยรักษาข้อกระดูกเฉพาะส่วน แม้ว่าจะสามารถบรรเทาโรคข้อกระดูกได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่การรักษาด้วยสเตียรอยด์ชนิดนี้ อาจทำให้เกิดผลกับส่วนอื่นของร่างกาย ทำให้กระดูกพรุนสึกหรอ ความดันโลหิตสูงขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ผลการทดลองกับหนูเป็นที่น่าพอใจมาก พวกเขาคอยฉีดสเตียรอยด์ในปริมาณน้อยแต่หลายครั้งติดต่อกัน ช่วงระหว่างกระดูกทั้งสองชิ้นที่เป็นข้อต่อธรรมดา (Normal Joint) อย่างไรก็ตามการวิจัยยังต้องใช้ระยะเวลาและทดลองซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลออกมาที่แม่นยำและจะต้องมั่นใจว่าปลอดภัยกับผู้ป่วย

ดอกเตอร์ Jim Olsen  นักวิจัยอาวุโส กล่าวว่า “ สเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ไปทุกส่วนของร่างกาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับข้อกระดูกหลายชนิด หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยครั้ง อาจทำให้อาการของโรคร้ายแรงและแทรกซ้อนมากขึ้นก็เป็นได้

เอมิลี่ เกอร์อาร์ด หนึ่งในนักวิจัยจากห้องทดลองให้สัมภาษณ์ว่า “ เรายังต้องพัฒนาการวิจัยและทดลองอยู่เรื่อยๆ หวังว่าผลจะออกมาเป็นบวก เราจะได้ช่วยรักษาผู้คนจากโรคร้ายในอนาคตได้ ”

หากการวิจัยพัฒนาขึ้นในอนาคต พิษแมงป่องอาจช่วยผู้สูงอายุรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและอาจโยงไปถึงการรักษาโรคอื่นๆได้อีกด้วย

ที่มา Science Translational Medicine

(337)