กุ้งเป็นสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกแข็งที่เป็นอาหารของคนทั่วโลก เปลือกที่แข็งและโปร่งแสงของมันมีตั้งแต่สีน้ำตาลจนถึงสีเทา มีรสชาติที่หวาน และมีเนื้อนุ่มหรือเนื้อแน่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แม้ว่ากุ้งจะเป็นอาหารอันโอชะที่นิยมในหลายประเทศ แต่หลายคนเชื่อว่าการรับประทานกุ้งแบบดิบนั้นไม่ปลอดภัย และวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนี้ให้กับคุณ
กุ้งดิบปลอดภัยหรือไม่
กุ้งดิบรับประทานได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก ในบางพื้นที่ ของเหลวที่อยู่ภายในหัวของกุ้งจะถือว่าเป็นอาหารอันโอชะ ในญี่ปุ่นถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะพบซาซิมิกุ้งสด ในขณะที่ในประเทศจีนจะรับประทานสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกแบบสดหลังจากแช่ในสุราที่เรียกว่า baijiu แต่ถึงอย่างนั้น กุ้งอาจเป็นแหล่งของแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตที่อาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษหรือเป็นโรคได้
อย่างไรก็ตามกุ้งเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกที่รับประทานกันมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และคิดเป็น 50% ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารหลายชนิด รวมถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินบี 12 และไอโอดีน ซึ่งแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตรายที่อาจมีอยู่ในกุ้งนั้นสามารถฆ่าได้ด้วยการปรุงที่อุณหภูมิสูง
เนื่องจากความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ การรับประทานกุ้งดิบจึงไม่ปลอดภัย
อันตรายจากการรับประทานกุ้งดิบ
ในแต่ละปีจะมีชาวอเมริกันจำนวน 1 ใน 6 ที่มักจะเกิดโรคอาหารเป็นพิษ การบริโภคกุ้งดิบจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษในอาหารและการปนเปื้อนในอาหารมากขึ้น
อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตราย
กุ้งดิบมักจะมีแบคทีเรียที่เรียกว่า Vibrio มีสัตว์มากกว่า 70 ชนิด คิดเป็น 12 สายพันธุ์ที่เรารู้กันว่าเป็นสาเหตุของการป่วยในมนุษย์ จากการศึกษาในตัวอย่างกุ้งดิบ 299 ตัวอย่าง พบว่า 55% มีแบคทีเรีย Vibrio ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคกระเพาะ อหิวาตกโรค และการติดเชื้อ นอกจากนี้จากการศึกษาในฟาร์มเลี้ยงกุ้งพบว่า Vibrio ส่วนใหญ่ทนต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และจากการตรวจสอบโรงงานแปรรูปอาหารทะเล 10 แห่งในไนจีเรีย พบว่ากุ้ง 100% มีเชื้อแบคทีเรีย Bacillus ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการท้องร่วงและอาเจียน
อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย
โรคอาหารเป็นพิษเป็นโรคที่พบบ่อยที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหารที่มีแบคทีเรีย อาการอาจรวมถึงการอาเจียน ปวดท้อง มีไข้ และท้องร่วง ในความเป็นจริง มากกว่า 90% ของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษนั้น มีสาเหตุมาจากเชื้อ Salmonella, E. coli, Vibrio หรือ Bacillus ซึ่งทั้งหมดสามารถพบได้ในกุ้งดิบ
นอกจากนี้ โนโรไวรัสเป็นโรคติดต่อที่มักมีสาเหตุจากการรับประทานสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกแบบสด เช่น กุ้ง ในแต่ละปี มีการเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่เกี่ยวกับท้องร่วงประมาณ 1 พันล้านครั้ง และในสหรัฐอเมริกาทุกๆปี กว่า 5,000 คนเสียชีวิตจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร ด้วยเหตุนี้ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็กควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงกุ้งดิบหรือกุ้งที่ยังไม่สุก เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจทำลายระบบภูมิคุ้มกันและมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคร้ายแรง
วิธีเตรียมกุ้งอย่างปลอดภัย
เราไม่แนะนำให้รับประทานกุ้งดิบเพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ดังนั้นการทำอาหารจากกุ้งให้ถูกวิธี จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการกิน เนื่องจากกระบวนการเก็บเกี่ยว การจัดการ และการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสมสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน จึงควรซื้อกุ้งที่มีคุณภาพจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และมองหาฉลากที่รับรองกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยตามแนวทางความปลอดภัยของอาหาร
กุ้งสดควรเก็บในตู้เย็นและบริโภคภายในสี่วันหรือหากแช่แข็งจะเก็บได้นานถึงห้าเดือน และวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการละลายกุ้งแช่แข็ง คือการนำออกจากบรรจุภัณฑ์และเก็บไว้ในตู้เย็นข้ามคืนหรือนาน 24 ชั่วโมง สิ่งนี้จะช่วยลดการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้
ในการปรุงอาหาร ให้ล้างกุ้งของคุณให้สะอาดเพราะอาจมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนแบคทีเรีย และตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารอื่นๆ อยู่ในระยะที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการปนเปื้อน แม้ว่าเทคนิคดังกล่าวอาจลดการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย แต่ก็ไม่ได้ฆ่าแบคทีเรียทั้งหมดที่มีอยู่ ดังนั้นแม้ว่าคุณจะการปรุงอาหารอย่างรอบคอบ แต่กุ้งดิบยังคงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
ดังนั้นคุณควรให้ความร้อนจนกว่ามันจะมีสีขุ่นหรือสีชมพู หรือมีอุณหภูมิภายในเท่ากับ 1450F (63 ℃) ซึ่งแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตรายส่วนใหญ่จะถูกกำจัดในระหว่างกระบวนการทำอาหารนี้
กุ้งเป็นสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกที่ได้รับความนิยมทั่วโลก อย่างไรก็ตามการบริโภคแบบดิบนั้นมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากอาจมีแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตราย ในขณะที่กระบวนการการเตรียมกุ้งดิบบางวิธีสามารถลดความเสี่ยงของโรคอาหารเป็นพิษ แต่การทำอาหารอย่างพิถีพิถันเท่านั้นที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้
ที่มา healthline
(15494)