Maryborough Meteorite

ในปี 2015 David Hole กำลังสำรวจแร่ใน Maryborough Regional Park ใกล้เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เขาพบก้อนหินก้อนหนึ่งที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ จึงเก็บมันมาเพราะเชื่อว่าข้างในต้องมีทองปนอยู่แน่ๆ เนื่องจาก Maryborough ถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคทองที่เคยรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 19

ไม่ว่าเขาจะใช้ค้อน เลื่อยหิน เครื่องบด สว่าน หรือแม้แต่จุ่มมันลงไปในน้ำกรดเพื่อให้มันแตกออก มันก็ไม่มีทีท่าสะดุ้งสะเทือน เขาจึงนำมันไปยังพิพิธภัณฑ์เมลเบิร์นเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ในที่สุดเขาก็ได้รู้ว่า แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ทอง แต่เป็นอุกกาบาตหายากต่างหาก

หลังจากที่ใช้เลื่อยตัดเพชรตัดมันออกมาตรวจสอบ ก็พบว่ามันคือวัตถุที่มีส่วนประกอบเป็นแร่เหล็กปริมาณสูง ซึ่งหากมองดูเนื้อในจะเห็นการกระจายอยู่ทั่วไปของธาตุโลหะที่เรียกว่า chondrule ภายหลังผู้เชี่ยวชาญได้ตีพิมพ์ลงในวารสารงานวิจัย ว่ามันเป็นอุกกาบาตอายุ 4.6 พันล้านปี โดยเรียกกันว่า “Maryborough Meteorite” ตามชื่อเมืองที่อยู่ใกล้กับจุดที่พบ มันมีน้ำหนัก 17 กิโลกรัม

นักวิจัยจะยังไม่ทราบว่ามันมาจากไหนและอยู่บนโลกมานานแค่ไหน แต่อุกกาบาตถือเป็นรูปแบบที่ถูกที่สุดในการสำรวจอวกาศ โดยพวกมันจะพาเราย้อนเวลากลับไปและสามารถเป็นเบาะแสเกี่ยวกับอายุ การก่อตัว และสารเคมีในระบบสุริยะของเราได้

(41)