แอฟริกาตะวันออกกำลังเผชิญกับฝูงตั๊กแตนทะเลทรายที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 25 ปี

“แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบจากการรุกรานของตั๊กแตนทะเลทรายที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 25 ปี” องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา “ซึ่งการรุกรานนี้ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหารอย่างไม่เคยมีมาก่อนในภูมิภาคย่อยทั้งหมด ซึ่งประชาชนกว่า 19 ล้านคนในแอฟริกาตะวันออกประสบปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารในระดับสูง” เจ้าหน้าที่กล่าว

ในเคนยา นี่ถือว่าเป็นการรุกรานที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 70 ปี และรัฐบาลใช้เงิน 5 ล้านดอลล่าสหรัฐเพื่อจัดการและป้องกันการแพร่กระจายของฝูงตั๊กแตน การรุกรานของตั๊กแตนทะเลทรายเป็นสิ่งผิดปกติในภูมิภาค กรณีล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2007 ในระดับที่เล็กกว่ามาก

“การรุกรานของตั๊กแตนทะเลทรายในปัจจุบันมีขนาดใหญ่มากและมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยประสบในเคนยาและทั่วแอฟริกาตะวันออก” ดร. สตีเฟนนิโจก้า ผู้อำนวยการองค์การควบคุมตั๊กแตนทะเลทรายกล่าว

สภาพอากาศและภูมิอากาศที่ผิดปกติในปี 2019 รวมถึงฝนตกหนักในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคมเป็นที่น่าสงสัยว่ามีส่วนที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของตั๊กแตนในพื้นที่ ซึ่งพายุไซโคลนที่พัดผ่านทางตะวันออกเฉียงเหนือของโซมาเลีย และเอธิโอเปียตะวันออกในเดือนธันวาคมทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้เกิดภาวะที่เหมาะสมสำหรับแมลงที่จะผสมพันธุ์ในอีกหกเดือนข้างหน้า

“พื้นที่ขนาดใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของโซมาเลียและเอธิโอเปียตะวันออกไม่ถูกตรวจสอบหรือดูแลรักษา ทำให้พื้นที่นี้เสี่ยงต่อการแพร่พันธุ์ใหม่ของตั๊กแตน หากตั๊กแตนถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแลโดยมาตรการควบคุม ฝูงตั๊กแตนอาจขยายตัวได้ใหญ่ขึ้น 400 เท่าภายในเดือนมิถุนายน” Cressman กล่าว

“ปริมาณฝนที่ไม่คาดคิดและคาดเดาไม่ได้ในตอนเหนือของเคนยาจนถึงเดือนมกราคมนั้น ยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการเพาะพันธุ์ของตั๊กแตน “ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด” การบุกรุกอาจกลายเป็นโรคระบาดหากไม่ได้มีการควบคุมอย่างรวดเร็ว” FAO กล่าวในแถลงการณ์

แผนปฏิบัติการฉุกเฉิน

FAO ได้ยกระดับสถานการณ์สู่ระดับภัยพิบัติสูงสุด ซึ่งนำหน่วยงานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินหกเดือนและเสนอว่าจะใช้ 70 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกำจัดฝูงตั๊กแตนทั่วทั้งภูมิภาค จากข้อมูลของ FAO แมลงไม่ได้โจมตีคนหรือสัตว์และไม่มีหลักฐานว่าพวกเขามีโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และฝูงตั๊กแตนทะเลทรายสามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน โดยเดินทางได้ไกลถึง 130 กิโลเมตร (80 ไมล์) หรือมากกว่านั้นต่อวัน หากฝูงตั๊กแตนใหญ่เท่าปารีส จะสามารถกินอาหารได้มากเท่ากับครึ่งหนึ่งของประชากรฝรั่งเศส

ที่มา cnn

(3957)