ทำไมเราถึงให้ช็อคโกแลตกันในวันวาเลนไทน์

มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ร้านค้าปลีกแทบทุกประเภทในเดือนกุมภาพันธ์จะไม่วางขายกล่องช็อคโกแลตสีชมพูและสีแดงทั่วทุกมุมของร้าน ช็อคโกแลตกลายเป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ที่เป็นสากล เหมาะกับดอกไม้และเครื่องประดับ แต่การให้ช็อคโกแลตนี้ไม่ใช่ความโรแมนติกที่ดังเพียงข้ามคืน มันใช้เวลาหลายศตวรรษของตำนาน การตลาด และประเพณี ในการบันทึกช็อคโกแลตในประวัติศาสตร์วันวาเลนไทน์

บุคคลแรกที่เชื่อมโยงความรักเข้ากับช็อคโกแลตคือชาวมายา ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตศักราชพวกเขาเริ่มผลิตเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดโกโก้หลายศตวรรษก่อนงานฉลองแรกของนักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งช็อกโกแลตร้อนถือเป็นส่วนสำคัญของพิธีแต่งงานของชาวมายา เจ้าสาวและเจ้าบ่าวจะแลกกันจิบเครื่องดื่มระหว่างพิธี สื่อให้เห็นว่าในอนาคตนั้นช็อคโกแลตจะกลายเป็นสัญลักษณ์ทางสากลของความรัก

ชนเผ่าอินเดียในแอฟริกากลางมีความคิดเห็นเรื่องประโยชน์เล็กๆน้อยๆของส่วนผสมนี้ ตามตำนานจักรพรรดิ มอนเตซูมาที่ 2 ได้กินเมล็ดโกโก้ในปริมาณมากเพื่อเป็นตัวกระตุ้นในการทำเรื่องโรแมนติก ช็อคโกแลตมีทริปโตเฟนและฟีนิลเอทิลามีนจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นสารเคมีสองชนิดที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกรักและความใคร่ แต่ทางนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าไม่มีสารเพียงพอที่จะทำให้ช็อกโกแลตเป็นสารกระตุ้นความต้องการทางเพศ

Cadbury เปิดตัวช็อคโกแลตรูปหัวใจกล่องแรกในปี1861 และประสบความสำเร็จในทันที แพ็คเกจถูกประดับด้วยกามเทพและดอกกุหลาบ เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ซื้อของขวัญวันวาเลนไทน์ และกล่องเปล่าสามารถใช้เก็บของที่ระลึก เช่น จดหมายรัก และปอยผม

Cadbury ไม่ได้จดสิทธิบัตรกล่องช็อคโกแลตรูปหัวใจ ดังนั้นอุตสาหกรรมขนมที่เหลือก็เริ่มผลิตบรรจุภัณฑ์ที่คล้ายกันเป็นของตัวเอง

ช็อคโกแลตวันวาเลนไทน์นั้นมีการแลกเปลี่ยนกันทั่วโลก แต่ก็มีความผูกพันกับประเพณีที่น่าสนใจในบางประเทศ ต้องขอบคุณแคมเปญการตลาดที่ประสบความสำเร็จ ที่ผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่นต้องมอบ “Obligation Chocolates” ให้กับทุกคนที่พวกเขารู้จักในวันที่ 14 กุมภาพันธ์

 

ที่มา mentalfloss

(535)