แร้งเคราจอมหักกระดูก

แร้งเครา (Bearded vulture) หรือที่รู้จักกันในชื่อ lammergeier เจ้าของสมญานาม “จอมหักกระดูก”

พวกมันกระจายพันธุ์อยู่ตามเทือกเขาสูง ในทวีปยุโรปตอนใต้ แอฟริกา ไปจนถึงอินเดียและทิเบต มักพบใกล้ทุ่งหญ้าบนเทือกเขา หุบเขาหิน ที่ราบสูง หรือบางครั้งอาจอยู่รอบๆ ป่าบนภูเขา แร้งเครามีเอกลักษณะการบินที่เฉพาะตัว สายตาและประสาทในการดมกลิ่นดีเยี่ยม ทำรังและวางไข่บนหน้าผาสูง เพื่อหลบหลีกจากสัตว์นักล่าชนิดต่างๆ ที่มารังควาญ แร้งชนิดนี้เป็นแร้งขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 95–125 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 4–8 กิโลกรัม ความยาวปีกเมื่อกางเต็มแล้วอาจกว้างได้ถึง 3 เมตร

ภาพโดย Ákos Lumnitzer

สิ่งที่ทำให้แร้งเคราแตกต่างจากแร้งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนหัวที่มีขนปุกปุย ตัวที่โตเต็มที่จะมีหัวสีขาว ขนตามลำตัวเป็นสีเหลือง และมีขนสีดำที่จะงอยปากล่างดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อมันนั่นเอง อีกสิ่งที่ทำให้มันแตกต่าง บ่งบอกถึงความอันตราย และเป็นที่มาของสมญานาม จอมหักกระดูก ก็คือพฤติกรรมในการกินอาหาร นอกจากกินเนื้อและซากสัตว์เหมือนแร้งชนิดอื่น มันยังชอบกินกระดูกอีกด้วย

แร้งเคราเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่เชี่ยวชาญในการกินไขกระดูก วิธีการของมันคือ ถ้าเป็นกระดูกชิ้นเล็กจะกัดให้หัก แต่ถ้าชิ้นใหญ่เกินจะกลืนได้ มันจะใช้กรงเล็บของมันจับกระดูกแล้วบินขึ้นไปที่ความสูง 50-150 เมตร ก่อนจะปล่อยกระดูกลงมากระแทกกับหินจนแตก เผยให้เห็นไขกระดูกที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ถือเป็นอาหารชั้นเลิศของพวกมัน

แร้งเคราที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติจะมีอายุเฉลี่ยที่ 20 ปี แต่กลับกัน หากถูกเลี้ยงโดยมนุษย์ มันจะมีอายุยืนยาวถึง 45 ปีเลยทีเดียว จากข้อมูลของ ICUN (The IUCN Red List of Threatened Species™) ในปี 2020 พบว่า แร้งเคราอยู่ในเกณฑ์สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

(690)