ภาพหาชมได้ยาก ที่แสดงให้เห็นเครื่องแต่งกายของหญิงชาวเกาะ Azores ในปี 1930s

Azores เป็นหนึ่งในเกาะภูเขาไฟ 9 แห่งที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันดีในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ แต่ในอดีตเกาะแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความลึกลับ และหนึ่งในนั้นก็คือเสื้อผ้ารูปแบบแปลกตาที่หญิงชาวเกาะสวมใส่ในช่วงปี 30s

hippostcard

Azorean Hood หรือในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Capote e Capelo เป็นธรรมเนียมการสวมผ้าคลุมที่มีหมวกขนาดใหญ่อยู่ด้านบนเพื่อปกปิดใบหน้าของหญิงชาวเกาะ ในช่วงปี 1930s ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่าต้นกำเนิดของเครื่องแต่งกายนี้เป็นอย่างไร แต่คาดว่าน่าจะมาจากชาวเฟลมิช ผสมผสานกับเจโนวีส บริติช และฝรั่งเศส ที่เข้ามารวมกลุ่มกับชาวโปรตุเกสบนแผ่นดินใหญ่ และย้ายมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะเมื่อศตวรรษที่ 15-16 

historiadosacores

บทความของ Joana Avila ใน European Heritage Days กล่าวว่าผ้าคุลมนี้จะตกทอดจากแม่สู่ลูกสาว และเป็นสัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจ 2 ประการด้วยกัน เนื่องจากผ้าคลุมเหล่านี้จะมีสีน้ำเงินที่มาจากต้น woad และมีรูปทรงเหมือนกระดูกวาฬ

ในศตวรรษที่ 16 และ 17 สีย้อมผ้าจากพืชถือเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกหลักของเกาะ ต้น woad แห้งจำนวนมากถูกส่งไปยัง Flanders (ภูมิภาคในส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นเบลเยียม ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์) เพื่อใช้ในการย้อมสีผ้า ส่วนการล่าวาฬก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกหลักด้วยเช่นกัน

Wilhelm Tobien

แต่ในที่สุด เมื่อช่วงปี 80s เกาะแห่งนี้ได้เปลี่ยนจากการล่าวาฬเป็นการเยี่ยมชมวาฬแทน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าถึงแม้พวกเขาจะทำรายได้ได้ดีจากการล่าวาฬ แต่การเปลี่ยนมาดูพวกมันเพียงอย่างเดียวก็สร้างรายได้ให้พวกเขาได้เช่นกัน แถมยังปลอดภัยกว่าเป็นไหนๆ อีกด้วย

ที่มา Bored panda

ภาพปก Edição Postal

(4687)