นักวิจัยจากศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาในประเทศฮังการี รายงานว่าในขณะที่พวกเขาได้เฝ้าดูพฤติกรรมของ Greek Meadow Viper งูพิษสายพันธุ์หนึ่ง พบว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของงูมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาจึงเริ่มวิจัยงูสายพันธุ์อื่นๆ จนได้ผลออกมาว่ามีงูหลายชนิดที่พฤติกรรมเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมเช่นกัน
ดอกเตอร์ Edvárd Mizsei อธิบายว่า มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้พฤติกรรมงูเปลี่ยนไปโดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทั้งทางตรงและอ้อม หนึ่งคือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น งูก็จะปรับตัวตามอุณหภูมิให้คงที่กับสภาพอากาศซึ่งร้อนอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยฉับพลันของประชากรงูทำให้การล่าหาอาหารเป็นเรื่องยากขึ้น และพื้นที่บริเวณที่งูอาศัยอยู่มีอุณหภูมิที่สูงมากทำให้ผิวหนังงูไม่สามารถทนกับความร้อนได้
พฤติกรรมของงูที่เราพบว่าผิดปกติไป คือการออกล่าและผสมพันธุ์ในช่วงเวลา 10 นาฬิกาในตอนเช้าและ 4 นาฬิกาช่วงพระอาทิตย์ใกล้ตกซึ่งเป็นเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้นและเวลาที่อุณหภูมิลดลง แม้กระทั่งงูชนิดที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นผิวที่เป็นหินและภูเขาสูงก็เริ่มอพยพย้ายมาบริเวณพุ่มไม้ ป่าใหญ่ และพื้นที่ที่ต่ำลง อาจเป็นเพราะความร้อนบนพื้นผิวหินที่สูงขึ้น ในท้ายที่สุดแล้วหากอุณหภูมิสูงขึ้นจนพวกมันไม่สามารถปรับตัวได้อีกต่อไป อาจจะทำให้พวกมันลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ได้
ภาพจาก Edvárd Mizsei
(652)