กอริลล่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ตัวถูกฟ้าผ่าและตายอย่างกะทันหันในอุทยานแห่งชาติยูกันดา

สายฟ้านั้นคร่าชีวิตสัตว์ป่าค่อนข้างบ่อย แต่การตายของกอริลล่าหายากสี่ตัวนั้น ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของสายพันธุ์ กอริลล่าภูเขา (Gorilla beringei beringei)

กอริลลาชนิดนี้จัดเป็นสายพันธุ์ย่อยของกอริลล่าตะวันออก อาศัยอยู่ที่ระดับความสูง 8,000 ถึง 13,000 ฟุต (2,400 ถึง 4,000 เมตร) ในลุ่มน้ำคองโกของแอฟริกา ตามข้อมูลจากมูลนิธิสัตว์ป่าโลก มีเพียง 1,000 ตัวที่ยังคงอาศัยอยู่ในป่า ทำให้การสูญเสียกอริลล่าอาจเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ ตามคำแถลงจาก Greater Virunga Transboundary Collaboration (GVTC).

กอริลล่าสี่ตัวถูกฟ้าผ่าตาย โดยมีเพศเมียโตเต็มวัย 3 ตัว และลูกกอริลลาเพศผู้ 1 ตัว ที่ย้ายมายังอุทยานแห่งชาติ Mgahinga Gorilla ในยูกันดาเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพร้อมกับกอริลล่าอีก 13 ตัว

จากการชันสูตรศพที่แผลขั้นต้นนั้น สาเหตุเบื้องต้นของการตายของกอริลล่าทั้งสี่นั้นน่าจะเกิดจากไฟฟ้าช็อต สาเหตุการตายจะได้รับการยืนยันในสองถึงสามสัปดาห์ หลังจากการตรวจสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อจากกอริลล่า ส่วนสมาชิกที่เหลืออีก 13 ตัวของกลุ่มลิงที่ยิ่งใหญ่นี้ เป็นที่รู้จักในนามตระกูล Hirwa นั้นมีสุขภาพดีและจะได้รับการสังเกตการณ์อย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจดูเหมือนว่าเป็นอุบัติเหตุที่เหลือเชื่อ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับสัตว์ป่าที่จะถูกฆ่าจากฟ้าผ่า หลังจากที่ฟ้าผ่าครั้งแรก พลังงานไฟฟ้าจะพุ่งสู่พื้นและสามารถดูดซับโดยสัตว์ที่ยืนอยู่ใกล้ๆ พลังงานเดินทางผ่านขาข้างหนึ่ง ผ่านช่องว่างภายในร่างกายและไปยังขาอีกข้าง ซึ่งหมายความว่าสัตว์ที่มีการแยกขนาดใหญ่ระหว่างเท้าอาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงกว่าสัตว์ที่มีขนาดเล็ก

ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรกอริลล่าบนภูเขาได้เผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ การต่อสู้ การล่าสัตว์ที่ผิดกฏหมาย และการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ ภายในปี 2008 เหลือเพียง 680 ตัวเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ตามข้อมูลจากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

ต้องขอบคุณความพยายามที่จะอนุรักษ์ ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ตัวภายในปี 2018  ทำให้ IUCN เปลี่ยนจาก “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ” เป็น “สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์” แม้จะมีสภาพที่ดีขึ้น แต่กอริลล่าภูเขาก็ยังคงเผชิญกับภัยคุกคามด้านการสูญพันธุ์ ทำให้การตายของกอริลล่าเพศเมียสามตัวนั้น ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของสายพันธุ์

ที่มา livescience

(973)