ฟ้าแลบไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีแค่ความน่ากลัวเท่านั้น แต่มันยังสามารถเพิ่มสารอาหารในดินได้ด้วย กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประเมินว่า ในระยะเวลา 1 ปี ปรากฏการณ์ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี
เนื่องจากในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) และจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไปทำให้กลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก และเมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ ก็จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืชนั่นเอง
ฟ้าแลบ คือปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนภายในเมฆ หรือระหว่างเมฆกับเมฆ หรือเกิดขึ้นระหว่างเมฆกับพื้นดิน เป็นแสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น
(846)