รู้หรือไม่? เราสามารถทำขั้วแบตเตอรี่จากเปลือกกุ้งได้นะ

ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมตซาชูเสตต์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) ได้พัฒนาส่วนประกอบของขั้วไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่แบบใหม่ที่เรียกว่า Vanadium Redox Flow Battery ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารที่ได้จาก “เปลือกกุ้ง”

Vanadium Redox Flow Battery หรือ VRFB เป็นแบตเตอรี่ชาร์จได้ที่ใช้วาเนเดียมไอออนเพื่อเก็บพลังงาน ประกอบด้วยถังบรรจุสารละลายอิเล็คโทรไลท์ 2 ถังแยกจากกันด้วยเยื่อแลกเปลี่ยนไอออน จุดเด่นของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือมีความทนทาน และสามารถเพิ่มความจุของพลังงานได้ด้วยการเพิ่มขนาดของถังเก็บสารละลาย จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด

ขั้วแบตเตอรี่จากเปลือกกุ้ง

ล่าสุดทีมวิจัยได้พัฒนาขั้วไฟฟ้าสำหรับ VRFB โดยใช้สารไคติน (chitin) ที่ได้จากเปลือกกุ้ง ผลการทดสอบพบว่าความหนาแน่นของพลังงานสูงสุดเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าพอใจ ทำให้ได้ขั้วไฟฟ้าสำหรับ VRFB ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาต่ำ และยังได้กำจัดขยะอาหารที่กำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย

ความพิเศษของไคตินที่ทำให้ประสิทธิภาพของขั้วไฟฟ้าสูงขึ้น ก็คือมันประกอบด้วยไนโตรเจน ซึ่งช่วยในการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างไอออนวานาเดียม เพราะเหตุนี้ประสิทธิภาพโดยรวมของขั้วไฟฟ้าจึงดีขึ้นนั่นเอง

(96)