ดาวแมกนีตาร์ (Magnetar) เป็นดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กแรงสูงเป็นพิเศษ และแมกนีตาร์มักจะก่อให้เกิดเปลวสุริยะโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า แม้ว่าสนามแม่เหล็กจะเข้มข้นกว่าดวงอาทิตย์ของเราหลายพันเท่า แต่การปะทุของพวกมันนั้นสั้นและคาดเดาไม่ได้จนทำให้นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ค้นหาและศึกษามันได้ยาก
ล่าสุดจากการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Atmosphere–Space Interactions Monitor (ASIM) ที่ตั้งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติมาเป็นระยเวลานับปี นักวิจัยจากสเปนก็สามารถจับหนึ่งในเปลวสุริยะและคำนวณการสั่นจากความสว่างของแมกนีตาร์ในแกแล็กซี Sculptor ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 13 ล้านปีแสงขณะที่มันปะทุไว้ได้ พบว่าแมกนีตาร์สามารถปล่อยพลังงานออกมาได้มากพอๆ กับที่ดวงอาทิตย์ของเราสร้างขึ้นเป็นระยะเวลา 100,000 ปี ภายในเวลาเพียง 1/10 วินาทีเท่านั้น
ดาวนิวตรอนจะก่อตัวขึ้นเมื่อดาวฤกษ์มวลสูงยุบตัวลงเมื่อสิ้นสุดอายุขัย หลังซูเปอร์โนวา โปรตอนและอิเล็กตรอนในแกนกลางของมันจะถูกบดขยี้ให้กลายเป็นมวลสุริยะที่ถูกบีบอัด ซึ่งรวมเอาแรงโน้มถ่วงอย่างเข้มข้นเข้ากับการหมุนด้วยความเร็วสูงและแรงแม่เหล็กอันทรงพลัง ผลที่ได้คือดาวนิวตรอนที่มีมวลประมาณ 1.3 ถึง 2.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ที่อัดแน่นอยู่ในทรงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 20 กิโลเมตร
แต่สำหรับ Magnetars มันเป็นดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กแรงกว่าดาวนิวตรอนทั่วไปถึง 1,000 เท่า และสามารถส่องสว่างได้มากกว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 100,000 เท่าเลยทีเดียว
ภาพ NASA’s Goddard Space Flight Center/S. Wiessinger
(361)