‘วอลลาบี’ที่ตั้งท้องอยู่แล้วยังสามารถตั้งท้องซ้ำได้อีกในเวลาเดียวกัน

นักวิจัยจากสถาบันสัตววิทยามิชิแกน พบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง จิงโจ้แคระ ( swamp wallaby ) สามารถตั้งท้องได้อีกในขณะที่ตัวเองตั้งท้องอยู่แล้ว ซึ่งเป็นวัฏจักรการตั้งท้องซ้อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่เหมือนสัตว์อื่น และจะเกิดขึ้นกับวอลลาบีที่เติบโตอยู่ในวัยผู้ใหญ่เต็มตัวแล้วเท่านั้น

จิงโจ้แคระ เป็นสัตว์ท้องถิ่นของประเทศออสเตรเลียตะวันออกอาศัยอยู่ในป่าและบึงน้ำ พวกมันจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัวเมื่ออายุครบ 15 เดือน มีอายุครรภ์ราว 33-38 วัน และอยู่ในช่วงการเป็นสัดเพียง 31 วันเท่านั้น

นักวิจัยเผยว่า ระยะเวลาการเป็นสัด หรือ ช่วงที่หาคู่ผสมพันธุ์นั้นสั้นกว่าระยะเวลาการตั้งท้อง จึงทำให้เกิดการตั้งท้องทับซ้อน ซึ่งการตั้งท้องลักษณะนี้จะเกิดขึ้นมากกว่า 90 % ในประชากรของวอลลาบี แต่ไม่ได้หมายความว่าทารกทั้งสองจะเป็นฝาแฝดกัน เนื่องจากวอลลาบีจะมีสองมดลูกอยู่ในระบบสืบพันธุ์ เมื่อมีการตั้งครรภ์ของทารกตัวแรก ทารกน้อยตัวต่อมาจะเริ่มตั้งครรภ์อีกมดลูกหนึ่ง การสร้างน้ำนมจะมีให้เฉพาะลูกตัวแรกจนถึงเวลาหย่านม จึงสร้างน้ำนมให้ตัวที่สองต่อไป และด้วยระยะเวลาการตั้งท้องที่สั้นมากทำให้ไม่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้เป็นเวลานาน จึงต้องคลอดลูกน้อยออกมาตั้งแต่ตอนที่ยังมีขนาดเล็ก

ที่มา livescience

(859)