Kamikatsu เมืองในประเทศญี่ปุ่นที่มีการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท

คุณเคยพบการแยกขยะในครัวเรือนกันบ้างหรือไม่ ผู้อยู่อาศัยในเมือง คามิคาซึ เมืองเล็กๆ ที่อยู่บนภูเขาของเกาะชิโกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ต้องแยกขยะออกเป็น 45 ประเภท โดยศูนย์เก็บขยะมีถุงขยะแยกต่างหาก สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องโลหะ ฝาขวดพลาสติก ขวดอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก กระป๋องสเปรย์ ไฟเรืองแสงและอื่นๆ คุณอาจจะคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวัง แต่พลเมืองของ คามิคาซึ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ของเสียเป็นศูนย์และพวกเขาได้ทำมันสำเร็จไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์

เดิมทีเมืองคามิคาซึ มีการจัดเก็บและกำจัดขยะ เช่นเดียวกับกับเมืองเล็กๆ แห่งอื่นๆ ทั่วโลก พวกมันถูกทิ้งในธรรมชาติและเผาที่บ้าน แต่ขยะที่เกิดจากการเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และขยะมูลฝอยก็เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ผู้คนในเมืองคามิคาซึจึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงการกำจัดขยะในปี พ.ศ. 2546 พวกเขาได้นำแนวคิด “Zero Waste” มาใช้

ในช่วงแรกเป็นเรื่องยากสำหรับทุกคน คือการล้างและการจัดเรียงถังขยะ จนกลายเป็นงานที่น่าเบื่อและเสียเวลา ทั้งขวดแก้วและพลาสติกต้องถูกปลดออกจากปากขวดและจัดเรียงตามสี ขวดพลาสติกสำหรับซอสถั่วเหลืองและน้ำมันปรุงอาหารต้องเก็บแยกจากขวด สำหรับขวดที่เคยบรรจุน้ำแร่และชาเขียว ต้องนำพลาสติกหรือกระดาษพันรอบขวดออก หนังสือพิมพ์และนิตยสารต้องถูกจัดวางเป็นชุดเรียบร้อยและผูกมัดด้วยเชือก

ไม่มีรถบรรทุกขยะที่เก็บขยะจากที่อยู่อาศัย ดังนั้นประชาชนต้องนำขยะไปที่ศูนย์รีไซเคิลด้วยตนเอง ซึ่งคนงานที่ศูนย์จะเป็นคนตรวจสอบให้แน่ใจว่าขยะที่นำมา มีการจัดแยกขยะอย่างถูกต้อง เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เครื่องประดับและสิ่งของอื่นๆ ที่ผู้คนไม่ต้องการจะถูกทิ้งไว้ที่ร้านรีไซเคิลเพื่อใช้แลกกับสินค้าอื่นๆ และนำกลับไปใช้ใหม่

จากสิ่งที่เคยเป็นภาระในวิถีชีวิตของชาวเมืองในคามิคาซึ ทำให้คนเริ่มมองไปที่ถังขยะด้วยมุมมองที่แตกต่างออกไป พวกเขาเริ่มตระหนักถึงสิ่งที่พวกเขาซื้อ วิธีที่พวกเขาใช้และวิธีจัดการสิ่งต่างๆ เจ้าของร้านหนึ่งในเมือง คามิคาซึ

กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการ เขาเริ่มซื้อของที่มีเฉพาะในกล่องกระดาษแข็งเท่านั้นเพื่อให้กล่องสามารถนำไปใช้บรรจุสิ่งอื่นๆ ได้อีก

ในที่สุดเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรมากกว่า 1,700 คน ก็มีความชำนาญเรื่องการรีไซเคิลขยะที่ซึ่งมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่นำไปฝังหลุม และพวกเขาหวังว่าจะกำจัดขยะให้หมดไป หรือ “Zero Waste” ภายในปี พ.ศ. 2563

(3832)