นักวิจัยของนาซากล่าวว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นที่เมืองปาลูบนเกาะสุลาเวสีประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนกันยายนในปี 2561 เป็นเหตุการณ์ที่หาได้ยากมาก จากการวิจัยครั้งใหม่ระบุว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้มีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง และทรงพลังเป็นพิเศษ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากรอยร้าวเคลื่อนที่อย่างผิดรูปแบบและรวดเร็วฉับพลัน ทำให้คลื่นเกิดขึ้นมีลักษณะทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยเรียกรูปแบบคลื่นชนิดนี้ว่า seismic shear waves แรงไหวสะเทือนที่ถูกสะสมและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือการสั่นที่รุนแรงกว่าแผ่นดินไหวที่มีคลื่นสั่นช้า
นักวิจัยที่ UCLA ห้องปฏิบัติการ Jet Propulsion ของนาซ่าในพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย และสถาบันอื่น ๆ ได้วิเคราะห์การสังเกตการณ์คลื่นไหวสะเทือนที่เกิดแรงสั่นสะเทือน และทำลายล้างในระดับสูงทั้งจากเรดาร์ดาวเทียมและภาพถ่ายoptical images เพื่อกำหนดลักษณะความเร็ว เวลา และขอบเขตของขนาดแผ่นดินไหว 7.5 ริกเตอร์ จากเมืองปาลู เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 2561จากการคำนวณแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนด้วยความเร็วคงที่ 9,171 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 14,760กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งในปกติแล้วแผ่นดินไหวมักสั่นสะเทือนด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 5,600 ถึง 6,700 ไมล์ต่อชั่วโมง (9,000 ถึง 10,800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จากการประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียมนักวิจัยพบรอยร้าวทั้งสองด้านยาว 93 ไมล์ (150 กิโลเมตร) เคลื่อนที่อย่างผิดปกติประมาณ 16 ฟุต (5 เมตร) ซึ่งเป็นระยะการเคลื่อนที่ที่น่าตกใจมาก
“การศึกษาและทำความเข้าใจรอยร้าวที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นั้นจะช่วยปรับปรุงแบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหวและช่วยให้วิศวกรออกแบบอาคารและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เพื่อต้านทานแผ่นดินไหวในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น” คำกล่าวจาก Eric Fielding ของ JPL ผู้ร่วมวิจัยครั้งนี้
ความผิดปกติของการสั่นสะเทือนจนเกิดคลื่นหลากหลายรูปแบบในพื้นดินรวมถึงคลื่น seismic shear waves ที่กระจายความเร็ว 7,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (12,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ผลักให้พวกมันรวมตัวกันเป็นคลื่นที่ใหญ่และทรงพลังกว่าเดิม
“การสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงนั้นคล้ายกับเสียงบูมโซนิคของเครื่องบินเจ็ทความเร็วเหนือเสียง” Lingsen Meng ศาสตราจารย์ของ UCLA และผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าว
ที่มา: NASA
(646)