องค์การ NASA เผยข้อมูลเกี่ยวกับโรคเริมที่เกิดขึ้นกับนักบินอวกาศ

การเป็นนักบินอวกาศนั้นคือภารกิจแห่งความภาคภูมิใจ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความยากลำบากนานัปการ ไม่ใช่เพียงแค่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมลงอีกด้วย

องค์การนาซาได้เปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของนักบินอวกาศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไวรัสโรคเริมได้เล่นงานนักบินอวกาศมากกว่าครึ่งที่เดินทางบนกระสวยอวกาศและสถานีอวกาศนานาชาติ และนี่อาจเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับภารกิจในห้วงอวกาศต่อไปในอนาคต

Satish Mehta นักวิจัยจาก Johnson Space Center กล่าวว่า “ในช่วงที่ยานอวกาศขึ้น เหล่านักบินมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามันเป็นตัวระงับระบบภูมิคุ้มกัน”

ในการรักษานี้ เราพบว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันของนักบินอวกาศ โดยเฉพาะเซลล์ที่ยับยั้งและกำจัดไวรัสจะมีประสิทธิภาพน้อยลงในระหว่างที่อยู่ในยานอวกาศ และบางครั้งความผิดปกตินี้อาจกินระยะเวลานานถึง 60 วัน

งานวิจัยของ Mehta และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Microbiology พบว่านักบินอวกาศหลั่งไวรัสเริมในปัสสาวะและน้ำลายของพวกเขามากกว่าก่อนหรือหลังการเดินทางในอวกาศ  ซึ่งสันนิษฐานว่าสาเหตุของปัญหาน่าจะเกิดจากความเครียดเมื่ออยู่บนยานอวกาศ

“นักบินอวกาศของนาซ่าต้องทนสัมผัสกับแรงโน้มถ่วงที่น้อยและการแผ่รังสีคอสมิคเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนของการบินขึ้นและกลับลงมายังโลก” Mehta กล่าวในการแถลงข่าว

ความท้าทายทางกายภาพนี้เกิดขึ้นจากสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดมากขึ้น เช่น การแบ่งแยกทางสังคม การเก็บตัว และวงจรการนอนหลับที่ผิดปกติ

โชคดีที่อาการนั้นเกิดขึ้นค่อนข้างยาก จากการสำรวจของนักบินอวกาศ 89 คนพบว่าเป็นเริมเพียง 6 คน คิดเป็นอัตราประมาณร้อยละ 7 เท่านั้น แต่ยิ่งอยู่ในอวกาศนานเท่าไร การแพร่กระจายของไวรัสก็จะยิ่งร้ายแรงขึ้น ทำให้นักวิจัยกังวลว่าปรากฏการณ์นี้อาจเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับการเดินทางในห้วงอวกาศ เนื่องจากความเสี่ยงต่อสุขภาพระยะยาว ซึ่งมีนัยสำคัญต่อภารกิจในการเดินทางอื่น ๆ ในอนาคต

(1338)