นาซาได้เผยข่าวดีว่าพื้นดินบนโลกมีพื้นที่สีเขียวเข้มในปัจจุบันนี้มากกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นเพราะประเทศจีนและอินเดีย เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีประชากรเยอะที่สุดในโลก ตรงกันข้ามกับที่เราทราบว่าประเทศจีนกับอินเดียเป็นประเทศที่ต้องการใช้ประโยชน์จากดิน น้ำ และทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่กลับกัน ประเทศทั้งสองมีความรับผิดชอบสำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรอบระยะเวลาสองทศวรรษ
สองประเทศที่ถือว่าเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ได้จัดเตรียมวิธีการรับมือเพื่อเป้าหมายในแผนการเพิ่มจำนวนต้นไม้ และขยายส่วนการปฏิบัติการ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม ทำให้ประเทศอินเดียได้ทำลายสถิติการปลูกต้นไม้ด้วยจำนวนประชากรกว่า 800,000 คน ปลูกต้นไม้ได้มากกว่า 50 ล้านต้นใน 24 ชั่วโมง ส่วนประเทศใหญ่อย่างจีน เพิ่มจำนวนป่าไม้โดยการจัดทำโครงการอนุรักษ์และขยายพื้นที่ป่า ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อลดผลกระทบจากการพังทลายของดิน มลพิษทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
ข้อค้นพบล่าสุดของนาซาได้เปรียบเทียบข้อมูลดาวเทียมจากกลางปีช่วงยุค 90s จนถึงปัจจุบัน โดยใช้ภาพความละเอียดสูง พบว่า สีเขียวที่เข้มขึ้นที่ตั้งอยู่ในประเทศจีนและอินเดียอยู่อย่างไม่เป็นสัดส่วน หากสีเขียวเป็นการตอบสนองขั้นต้นในแง่ดีจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโลกที่กำลังร้อนขึ้น การเพิ่มขึ้นของพืชก็จะไม่สิ้นสุดเพียงแค่บริเวณริมขอบของแต่ละประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ ภูมิภาคที่มีละติจูดสูงกว่าจะกลายเป็นพื้นที่สีเขียวได้เร็วกว่าภูมิภาคที่ละติจูดต่ำกว่า เช่น ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวเริ่มละลาย และพื้นที่อย่างตอนเหนือของรัสเซียที่เริ่มมีพื้นที่อาศัยอยู่ได้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งจีนและอินเดียต่างต้องผ่านช่วงเวลาการตัดไม้ทำลายป่าครั้งใหญ่ในช่วงปีค.ศ. 1970 – 1989 เพื่อล้างป่าเก่าแก่สำหรับการพัฒนาเมืองด้านการทำฟาร์มและเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่าเมื่อได้นำเสนอปัญหาออกไป มนุษย์เราก็สามารถหาทางออกได้อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อความสนใจเปลี่ยนไปในช่วงปี 90s มุ่งหน้าสู่การลดมลพิษทางดินและอากาศ นอกจากนั้นยังต้องต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ทั้งสองประเทศได้เปลี่ยนวิธีการใช้ที่ดินทั้งหมดเป็นอย่างมาก
นับว่าเป็นกำลังใจที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระบบการจัดการและการใช้พื้นที่ดิน เมื่อได้นำเสนอสภาวะวิกฤติของการขาดป่าไม้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินวิธีการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนของป่าไม้ในทศวรรษต่อ ๆ ไป
ที่มา : NASA
(27690)