ทุเรียนเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีเอกลักษณ์ เป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฉายาว่า “ราชาแห่งผลไม้” ทุเรียนนั้นมีสารอาหารสูงมากและมีมากกว่าผลไม้อื่นๆ แต่ก็มีข้อเสียก็คือเป็นผลไม้กลิ่นแรง
ทุเรียนคืออะไร?
ทุเรียนเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีขนาดใหญ่ มีหนามแหลม และมีเปลือกนอกแข็ง เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นแรง เนื้อค่อนข้างนิ่มและมีเมล็ดใหญ่ มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบมากที่สุดคือ Durio zibethinus เนื้อของผลไม้มีสีต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วจะเป็นสีเหลืองหรือสีขาว แต่ก็มีสีแดงหรือสีเขียวด้วย
ทุเรียนเติบโตในภูมิภาคเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ผลของมันสามารถโตได้ยาว 1 ฟุต (30 ซม.) และกว้าง 6 นิ้ว (15 ซม.)
ทุเรียนเป็นทั้งอาหารคาวและหวาน ทั้งเนื้อและเมล็ดสามารถรับประทานได้ แต่เมล็ดจะต้องนำไปทำให้สุกก่อน รสชาติของเมล็ดถูกบรรยายว่าคล้ายกับการชิมชีส, อัลมอนด์, กระเทียม, และคาราเมล ทั้งหมดในครั้งเดียว
การนำทุเรียนไปประกอบอาหารอาจทำได้ดังนี้
- น้ำผลไม้
- นำเมล็ดไปต้มหรือคั่ว
- ซุป
- ขนมหวาน ไอศครีม และของหวานอื่น ๆ
- เครื่องเคียง
นอกจากนี้ยังใช้ในยาแผนโบราณและมีคุณสมบัติเป็นยาบางอย่างซึ่งตอนนี้กำลังศึกษาอยู่
หนึ่งในผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด
ทุเรียนมีสารอาหารสูงมากเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นๆ
ทุเรียน 1 ถ้วย(243 กรัม) ให้สารอาหารดังนี้
- แคลอรี่: 357 กรัม
- ไขมัน: 13 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต: 66 กรัม
- ไฟเบอร์: 9 กรัม
- โปรตีน: 4 กรัม
- วิตามินซี: 80% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- ไทอามีน: 61% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- แมงกานีส: 39% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- วิตามินบี 6: 38% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- โพแทสเซียม: 30% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- Riboflavin: 29% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- ทองแดง: 25% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- โฟเลต: 22% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- แมกนีเซียม: 18% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
- ไนอาซิน: 13% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (DV)
สารอาหารนี้ทำให้ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยสารประกอบของพืชที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แอนโทไซยานิน แคโรทีนอยด์ โพลีฟีนอล และฟลาโวนอยด์ ประสิทธิภาพมากมายเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ด้านสุขภาพของทุเรียน
ทุกส่วนของทุเรียน ไม่ว่าจะเป็นใบ เปลือก ราก และผล ถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณของมาเลเซียเพื่อรักษาโรคต่างๆ เช่น ไข้สูง ดีซ่าน และโรคผิวหนัง
จากการศึกษาพบว่าผลไม้ทุเรียนมีประโยชน์ต่อสุขภาพดังนี้
ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง สารต้านอนุมูลอิสระของมันอาจต้านอนุมูลอิสระที่ส่งเสริมโรคมะเร็ง ในการศึกษาหนึ่งในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดจากทุเรียนป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเต้านม
ป้องกันโรคหัวใจ สารประกอบหลายชนิดในทุเรียนอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหรือการแข็งตัวของหลอดเลือด
ต่อสู้กับการติดเชื้อ เปลือกของมันประกอบด้วยสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อรา
ลดน้ำตาลในเลือด ทุเรียนมีดัชนีน้ำตาล(GI) ต่ำกว่าผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่นๆ ซึ่งหมายความว่ามันอาจสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
อาจเป็นอันตรายเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์
การรับประทานทุเรียนในเวลาเดียวกันกับแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดปัญหาได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารประกอบคล้ายกำมะถันในทุเรียนจะส่งผลให้เอนไซม์ aldehyde dehydrogenase ลดลง ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวมีหน้าที่เปลี่ยนสาร aldehyde ให้กลายเป็นสารอื่น แล้วถูกกำจัดออกจากร่างกายต่อไป (aldehyde เป็นสารพิษที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์เป็นพลังงาน) ส่งผลให้สาร aldehyde เกิดการสะสมในร่างกาย สิ่งนี้อาจนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, และหัวใจเต้นผิดปกติ เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียนและดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาเดียวกัน
วิธีรับประทานทุเรียน
การแกะทุเรียนนั้นค่อนข้างยาก เพราะมันมีเปลือกแข็งและมีหนามแหลมทำให้ต้องใช้ถุงมือเพื่อป้องกันมือของคุณ คุณต้องแกะเปลือกด้วยมีด แล้วแงะด้วยมือก่อนที่จะค่อยๆนำเนื้อทุเรียนออกมา จากนั้นคุณสามารถรับประทานเนื้อของมัน หรือรับประทานคู่กับข้าวเหนียว หรือใช้เป็นส่วนผสมของอาหารชนิดอื่นๆ
ทุเรียนยังถูกนำมาทำเป็นอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมหรือลูกอมต่างๆ แต่มันจะไม่ได้ให้คุณประโยชน์ด้านสุขภาพแก่คุณ
ทำไมมันมีกลิ่นแรงมากขนาดนี้?
มีความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับกลิ่นของทุเรียน มีบางคนที่ชอบและมีบางคนที่เกลียด กลิ่นของมันแรงมาก และมีการอธิบายกลิ่นว่าเป็นการรวมกันของซัลเฟอร์, น้ำเสีย, ผลไม้, น้ำผึ้ง, และหัวหอมคั่วและเปื่อย
จากการศึกษาสารประกอบอะโรมาติกในทุเรียนพบสารออกฤทธิ์ 44 ชนิดรวมทั้งสารที่มีส่วนช่วยในการปล่อยกลิ่นของสกั๊งค์, คาราเมล, ไข่เน่า, ผลไม้, และน้ำซุปปรุงรส
กลิ่นของมันแรงมากจนถูกแบนในโรงแรมหลายแห่งและระบบขนส่งสาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา healthline
(1006)