ฤดูร้อนในแอนตาร์กติกา ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ทำให้น้ำแข็งละลายอย่างรุนแรง และหิมะสีแดงเลือดแดงกระจายทั่วคาบสมุทรแอนตาร์กติก
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำแข็งรอบๆฐานการวิจัย Vernadsky ของยูเครน (ตั้งอยู่บนเกาะ Galindez นอกชายฝั่งของคาบสมุทรทางตอนเหนือสุดของทวีปแอนตาร์กติกา) ถูกปกคลุมด้วยสิ่งที่นักวิจัยเรียกว่า “หิมะราสเบอร์รี่”
สิ่งที่แดงเหมือนเลือดนั้นคือสาหร่ายสีแดงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Chlamydomonas Chlamydomonas ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในทุ่งหิมะและภูเขาทั่วโลก สาหร่ายเจริญเติบโตได้ในน้ำที่เย็นจัดและใช้เวลาในฤดูหนาวอยู่ใต้หิมะและน้ำแข็ง เมื่อฤดูร้อนมาถึงและหิมะละลาย สาหร่ายก็จะกระจายสปอร์สีแดงเหมือนดอกไม้
สีแดงของปรากฏการณ์นี้เกิดจากแคโรทีนอยด์ (สิ่งเดียวกับที่อยู่ในฟักทองและแครอทสีส้ม) ในคลอโรพลาสม่าของสาหร่าย นอกจากสีแดงเข้มแล้วเม็ดสีเหล่านี้ยังดูดซับความร้อนและปกป้องสาหร่ายจากแสงอุลตร้าไวโอเลต ช่วยให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับสารอาหารจากแสงอาทิตย์ในฤดูร้อน โดยไม่มีความเสี่ยงของการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม
มันดีสำหรับสาหร่าย แต่ไม่ดีสำหรับน้ำแข็ง การสะพรั่งของสาหร่ายมีส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพราะสีที่แดงเข้มทำให้หิมะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้น้อยลงและละลายเร็วขึ้น ยิ่งสาหร่ายดูดซับความร้อนได้เร็วเท่าไหร่ น้ำแข็งก็จะละลายเร็วขึ้นเท่านั้น ยิ่งละลายน้ำแข็งได้เร็วเท่าไหร่สาหร่ายก็ยิ่งกระจายตัวเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การร้อนขึ้น หิมะละลายมากขึ้น และสาหร่ายกระจายตัวมากขึ้น
ปรากฏการณ์ที่คล้ายกับสาหร่ายสะพรั่งนั้นเกิดขึ้นในมหาสมุทรทั่วโลก ทำให้เกิดภาพเซอร์เรียลหลายต่อหลายแบบ เช่นการบุกรุกของฟองทะเลในสเปน และสาหร่ายสีน้ำเงินเรืองแสงติดกับชายฝั่งของจีน ซึ่งสาหร่ายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศอบอุ่น หมายความว่าเราอาจเห็นเหตุการณ์เช่นนี้มากขึ้นเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
ที่มา livescience
(855)