นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ได้คิดค้นวัสดุใหม่ที่นิวยอร์กไทม์ขนานามว่าเป็น “คอนกรีตมีชีวิต” โดยผสมแบคทีเรียชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ลงไปในคอนกรีต เพื่อให้สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ได้คล้ายกับอวัยวะของสัตว์บางชนิด
ส่วนผสมประกอบด้วยเจลาติน ทราย และไซยาโนแบคทีเรีย หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Cyanobacteria) ซึ่งจะทำให้โครงสร้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างตัวเองขึ้นมาได้ใหม่เป็นจำนวน 3 ครั้งหลังจากที่ทีมวิจัยตัดมันออกจากกัน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าในการผลิตวัสดุที่ซ่อมแซมตัวเองได้
ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Matter โดยทีมนักวิจัยได้รับความร่วมมือจาก DARPA ในการศึกษาครั้งนี้ Will Srubar ผู้นำทีมวิจัยกล่าวกับนิวยอร์กไทม์ว่า “มันดูเหมือนแฟรงเกนสไตน์เลยทีเดียว”
จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากการที่สีเขียวของแบคทีเรียที่ตายแล้วจางลง แต่แม้ว่าสีของมันจะจางลง แบคทีเรียกลับยังคงอยู่รอดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ และสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ หรือแม้กระทั่งเติบโตขึ้นมาใหม่ได้เมื่อเจอสภาวะที่เหมาะสม
ด้าน DARPA เองก็มีความสนใจเป็นพิเศษในวัสดุที่เติบโตด้วยตนเองได้ ซึ่งอาจนำไปต่อยอดในการประกอบโครงสร้างในพื้นที่ทะเลทรายอันห่างไกล หรือในอวกาศ หากสามารถยกระดับการพัฒนาคอนกรีตนี้ขึ้นมาได้ เราจะได้วัสดุที่มีขนส่งในปริมาณน้อยลง และมีน้ำหนักลดลงด้วยก็จะเป็นผลดีต่อการนำขึ้นไปสู่อวกาศ Srubar ยังกล่าวเสริมอีกว่า “เราไม่จำเป็นต้องแบกวัสดุก่อสร้างขึ้นไป แต่เราจะแบกชีววิทยาขึ้นไปแทน”
ที่มา Science alert
(3067)