กฎในการตั้งชื่อดาวหาง โดยสมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ

ในปัจจุบันมีดาวหางที่ถูกค้นพบแล้วประมาณ 4,000 ดวง ซึ่งบางส่วนก็พบโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่น และในทุก ๆ ปีก็จะมีการค้นพบเพิ่มขึ้นเสมอ

สมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ จึงต้องตั้งกฎขึ้นเพื่อให้สามารถจัดระบบและบันทึกข้อมูลของดาวหางเหล่านั้นได้อย่างเป็นระเบียบ โดยกฎข้อแรก ได้แก่

1. อักษรตัวแรกจะแสดงถึงประเภทของดาวหาง ซึ่งจำแนกไปตามความยาวของวงโคจร คือ
– C คือดาวหางที่มีวงโคจรเกิน 200 ปี
– P คือดาวหางที่มีวงโคจรน้อยกว่า 200 ปี
– X คือดาวหางที่ที่ยังไม่สามารถคำนวณวงโคจรที่แน่นอนได้
– D คือดาวหางที่แตกสลายไปแล้วหรือสูญหายไป
– A คือวัตถุที่เข้าใจผิดว่าเป็นดาวหาง แต่ที่จริงเป็นดาวเคราะห์น้อย

2. ปีที่พบดาวหาง

3. รหัสอักษรรายปักษ์ เพื่อจำกัดช่วงเวลาที่พบให้แคบลง โดยเริ่มจาก A หมายถึงปักษ์แรกของเดือนมกราคม ส่วน B หมายถึงปักษ์หลังของเดือนมกราคม ไล่ตัวอักษรไปจนถึงปักษ์หลังของเดือนธันวาคม

4. หมายเลขลำดับของดาวหางที่ค้นพบในรายปักษ์เดียวกัน

5. และส่วนสุดท้ายคือชื่อของผู้ค้นพบ

Comet Lovejoy (2011 W3) rising over Western Australia from ©Colin Legg

ตัวอย่างของชื่อดาวหาง เช่น C/2011 W3 (Lovejoy) หมายถึง ดาวหางที่มีวงโคจรเกิน 200 ปี ค้นพบในปักษ์หลังของเดือนพฤศจิกายนปี 2011 ซึ่งเป็นดวงที่ 3 ที่ถูกค้นพบในปักษ์นี้ ค้นพบโดย เทอร์รี เลิฟจอย (วิศวกรคอมพิวเตอร์ ผู้ค้นพบดาวหางถึง 5 ดวง จากการตั้งกล้องในสวนหลังบ้านที่ออสเตรเลีย)

ที่มา ภาพถ่ายดาวหาง C/2011 W3 (Lovejoy) โดย ©Yuri Beletsky ณ หอดูดาวขององค์การอวกาศยุโรป

(433)