ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยสัตว์กลุ่มไพรเมต(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในตระกูลลิงซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย) รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบยีนที่เรียกว่า G-protein ซึ่งเป็นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน 39 (GPR39) มีผลกับสมองของสัตว์กลุ่มไพรเมต จากการทดลองเพิ่มระดับโปรตีนชนิดนี้ให้สัตว์กลุ่มไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ และให้ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเปรียบเทียบกับสัตว์ทดลองที่ดื่มน้อย พบว่าอาการที่แสดงออกภายในสมองของสัตว์นั้นน้อยกว่าตัวที่ดื่มน้อย นอกจากนี้นักวิจัยยังพบความสัมพันธ์ของแอลกอฮอล์ซึ่งมีผลต่อการลดระดับของ GPR39 จากการทดลองในหนู พวกเขาพบว่าเมื่อเพิ่มระดับโปรตีนซึ่งไปจับคู่จีโปรตีนของยีนในหนู พวกมันจะลดการตอบสนองต่อการได้รับแอลกอฮอล์ลงประมาณ 50% เมื่อเทียบกับตัวที่ไม่ได้รับการแสดงออกของยีน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณของเหลวทั้งหมดที่บริโภคหรือปริมาณของเหลวที่มีอยู่ในร่างกาย
“การศึกษาของเราเน้นถึงความสำคัญของการใช้การทดลองข้ามสายพันธุ์เพื่อระบุและทดสอบยาสำหรับการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง” ดร. Rita Cervera-Juanes นักวิจัยอาวุโสกล่าว
ดร. Cervera-Juanes และเพื่อนร่วมงานได้ปรับเปลี่ยนระดับโปรตีนที่จับคู่กับ GPR39 ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณกระแสประสาทและฮอร์โมน และยังเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า
อัตราภาวะอารมณ์แปรปรวนและความผิดปกติจากการดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีสูง โดยผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มสุราถึง 3.7 เท่า
ด้วยการใช้สารซึ่งเลียนแบบการทำงานของโปรตีน GPR39 พบว่าการกำหนดเป้าหมายของยีนนี้ช่วยลดการบริโภคแอลกอฮอล์ลงอย่างมากในหนู เพื่อตรวจสอบว่ากลไกเดียวกันนั้นจะสามารถส่งผลกระทบต่อมนุษย์หรือไม่ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงกำลังตรวจสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อจากสมองของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคพิษสุราเรื้อรัง
และในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่วิธีเท่านั้นในการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) การค้นพบครั้งนี้อาจชี้ให้เห็นถึงวิธีการพัฒนายาที่ป้องกันและรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังได้
งานวิจัยครั้งนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Neuropsychopharmacology
(204)