สนามแม่เหล็กที่ยาวที่สุด

สนามแม่เหล็กที่ยาวที่สุดที่เคยตรวจพบ ในปี 2019 นักดาราศาสตร์ได้เผยแพร่ภาพถ่ายแรกของหลุมดำมวลมหาศาล ซึ่งมีมวลประมาณ 6.5 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสงในกาแล็กซี Messier 87

ในปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ดูวัตถุประหลาดอีกครั้งโดยใช้หอสังเกตการณ์ Very Large Array ในนิวเม็กซิโก โดยเน้นไปที่ไอพ่นขนาดมหึมาของสสารและพลังงานที่ระเบิดออกจากใจกลางหลุมดำ

จากการวิเคราะห์ของทีมนักดาราศาสตร์แสดงให้เห็นว่าพลังงานไอพ่นขนาดยักษ์นั้นถูกบิดเป็นโครงสร้างรูปเกลียวคู่ที่แปลกประหลาด ซึ่งเกิดจากสนามแม่เหล็กรูปเกลียวคลื่นที่ระเบิดออกจากหลุมดำไปในอวกาศเป็นระยะทางเกือบ 3,300 ปีแสง ถือเป็นสนามแม่เหล็กที่ยาวที่สุดที่เคยตรวจพบมา

สนามแม่เหล็ก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น การสปิน(การหมุนรอบตัวเอง) ของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ สปิน เป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ

สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล

ภาพ Pasetto et al., Sophia Dagnello, NRAO/AUI/NS

(19)