สีน้ำเงินอาจเป็นสีที่หาได้ทั่วไปบนโลกใบนี้ แต่นับว่าเป็นสีที่หาได้ยากมากในธรรมชาติ แม้ว่าท้องฟ้าหรือท้องทะเลจะเป็นนี้เฉดนั้น แต่ฟ้า-สีน้ำเงินบนตัวสัตว์นั้นหาได้ยากมาก สาเหตุที่สีน้ำเงินหาได้ยากเป็นเพราะช่วงเม็ดสีของมันค่อนข้างแคบ สีบางสีอาจเห็นได้ทั่วไปบนสัตว์บางชนิด นั่นเป็นเพราะความสามารถของพวกมันในการผลิตเม็ดสีหรืออาจจะได้สีนั้นมาจากการอาหารที่พวกมันกิน ตัวอย่างเช่น เมลานิน (melanin) เม็ดสีที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยสัตว์ ทำให้สีขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่และขนนกบางชนิดเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ ในขณะเดียวกัน เม็ดสีสีแดงและสีส้มผลิตโดยแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ในพืชและสาหร่าย เมื่อสัตว์เช่นจำพวกกุ้งกินพืชเหล่านั้นเข้าไป พวกมันจะมีสีชมพูและสีแดงที่แตกต่างกันไป นกฟลามิงโกยังได้รับสีชมพูจากแคโรทีนอยด์ที่พบในกุ้งที่พวกมันกินอีกด้วย แม้พืชจะผลิตเม็ดสีฟ้า-น้ำเงินได้จาก anthocyanins แต่ในสัตว์ส่วนใหญ่ไม่สามารถสร้างเม็ดสีฟ้าได้ สัตว์สีฟ้า-น้ำเงินบางตัวไม่ได้ผลิตเม็ดสีแต่มีโครงสร้างที่ช่วยเห็นเป็นสีเฉดนั้น ซึ่งเรามักจะเห็นเป็นแสงสะท้อนหรือสีรุ้งๆ บางจุด
6. ผีเสื้อมอร์โฟ (Morpho) ผีเสื้อในตระกูลนี้มักเรียกอีกชื่อว่า ผีเสื้อมอร์โฟสีน้ำเงิน (blue morpho) สามารถพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึงอเมริกากลาง มีด้วยกันราว 80 สายพันธุ์ เมื่อกางปีกออกสามารถมีขนาดใหญ่ได้ถึง 7.5 เซนติเมตร สีของปีกนั้นจะเป็นสีฟ้าเข้มไล่ไปจนถึงสีน้ำเงินอ่อน ๆ ด้วยสีงดงามและมีความเป็นเอกลักษณ์ของปีกนี้ทำให้มันกลายเป็นของสะสมที่มีค่าสำหรับนักสะสมผีเสื้อ
สีน้ำเงินของพวกมันเกิดจากโครงสร้างของปีกซึ่งมีเกล็ดขนาดเล็กรูปร่างคลายต้นคริสต์มาสและมีชั้นบางๆ สลับกันที่เรียกว่าแผ่นลาเมลลา โครงสร้างนาโนของเกล็ดเหล่านี้ช่วยกระจายแสงที่กระทบปีกของพวกมัน ทำให้เห็นปีกของพวกมันเป็นสีน้ำเงิน ตัวผู้มักมีสีน้ำเงินเข้มกว่าตัวเมีย และบางสายพันธุ์มีเพียงตัวผู้เท่านั้นที่มีสีน้ำเงิน ตัวเมียจะเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลแทน
7. กิ้งก่า Sinai agama มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudotrapelus sinaitus เป็นสายพันธุ์กิ้งก่าที่พบได้ในทะเลทรายทั่วตะวันออกกลาง ผิวของพวกมันมักเป็นสีน้ำตาล ทำให้มันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ตัวผู้จะกลายเป็นสีฟ้าสดใสในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพื่อดึงดูดตัวเมีย แต่ตัวเมียยังคงเป็นสีน้ำตาลแต่อาจมีรอยแดงตรงด้านข้างของพวกมัน มันเป็นหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่มีสีฟ้า-น้ำเงินเพียงไม่กี่ชนิด
8. ดาวทะเลสีน้ำเงิน (Blue Linckia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Linckia laevigata ดาวทะเลชนิดนี้พบได้ตามแถบน้ำอุ่นของมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก จะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณที่อุณหภูมิประมาณ 22-26 องศาเซลเซียส ลักษณะจะเป็นสีม่วงเข้มไปจนถึงสีน้ำเงิน ตัวโตเต็มที่สามารถมีขนาดถึง 30-40 เซนติเมตร พวกมันเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิดที่มีสีน้ำเงินเม็ดสี
9. ทากสีน้ำเงิน (The Carpathian blue slug) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Bielzia coerulans เป็นทากที่พบได้ในบริเวณเทือกเขาคาร์เพเทียน (Carpathian Mountains) ในทวีปยุโรปตะวันออก แม้ว่าพวกมันเป็นทากที่มีสีน้ำเงินเข้มเด่นชัด แต่ความจริงแล้วพวกมันพึ่งเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อตอนโตเต็มวัย ส่วนตอนอายุยังน้อยๆ ตัวของพวกมันเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง พวกที่โตเต็มวัยแล้วจะมีระดับความเข้มของสีไม่เท่ากัน ซึ่งมีได้ตั้งแต่สีน้ำเงินแกมเขียวไปจนถึงสีน้ำเงินล้วนทั้งตัวหรือแม้แต่สีดำก็มีด้วยเช่นกัน
10. นกยูงอินเดีย (Indian peafowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavo cristatus ตามปกติแล้วนกยูงอินเดียหรือนกยูงสีน้ำเงิน (Indian peafowl, Blue peafowl) เมื่อยังเป็นลูกนกยูงจะไม่สามารถระบุเพศได้จากการสังเกตลักษณะและสีของขนจากภายนอก จนเมื่อลูกนกมีอายุ 8 เดือน จึงจะสามารถระบุเพศได้ นกยูงอินเดียตัวผู้ตัวเต็มวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูสืบพันธุ์จะมีขนคลุมหางที่ยาวออกมา ประมาณ 2 เท่าของลำตัวหรือประมาณ 150 เซนติเมตร
ร่างกายพวกมันสร้างเม็ดสีสีดำของเมลานีน แต่ที่เราเห็นมันเป็นสีต่างๆ เพราะโครงสร้างของมันทำให้แสงสะท้อนออกมาเห็นเป็นหลากหลายสี มีเพียงนกยูงอินเดียตัวผู้ตัวเท่านั้นที่มีสีน้ำเงินสดใสและสีเขียว ส่วนตัวเมียมักจะมีสีน้ำตาลและอาจจะมีขนสีเขียวไม่กี่เส้นตรงคอเท่านั้น สีสันที่สดใสของตัวผู้ก็เพื่อดึงดูดตัวเมียให้สนใจและหาคู่ครอง
(1776)