หลุมดำ(black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์ซชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะก่อกำเนิดวัตถุที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า “หลุมดำ” เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ
หลุมดำที่ใกล้โลกที่สุด เมื่อเดือนเมษายน 2021 นักวิทยาศาสตร์ได้พบหลุมดำที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรามากที่สุด และด้วยความที่มันถูกพบในกลุ่มดาว Monoceros จึงได้ชื่อเล่นว่า “ยูนิคอร์น”
หลุมดำยูนิคอร์นนั้นถือว่าหาพบยาก เนื่องจากมันมีขนาดเล็ก โดยมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เพียง 3 เท่า และอยู่ใกล้กับเงามืดของดาวยักษ์แดง V723 Mon ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในหมู่นักดาราศาสตร์ว่ามีความผันผวนของความสว่างสูง และถือเป็นหลุมดำที่ใกล้ระบบสุริยะที่สุด คืออยู่ห่างออกไป 1,500 ปีแสงเท่านั้น
ภาพ Lauren Fanfer/Ohio State University
(178)