สกัดผิดชีวิตเปลี่ยน

สกัดผิดชีวิตเปลี่ยน ละหุ่ง (Ricinus communis) มีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงได้ถึง 6 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบหยักเป็นแฉกแบบนิ้วมือ 5-12 แฉก ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งตรง ดอกย่อยสีเขียวอมเหลืองหรือสีม่วงแดง แยกเพศแต่อยู่บนช่อเดียวกัน โดยดอกตัวผู้อยู่ส่วนบน ส่วนดอกตัวเมียอยู่ส่วนล่าง ผลรูปไข่มี 3 พู

ขณะที่ผลยังอ่อนจะมีสีเขียวหรือสีเขียวแกมม่วง มีหนามอ่อน ๆ ปกคลุม แต่เมื่อแก่จะแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ด 1-3 เมล็ด เมื่อสกัดเมล็ดละหุ่งโดยไม่ใช้ความร้อน จะได้น้ำมันละหุ่ง (castor oil) ที่มีสารสำคัญคือ กรดริซิโนเลอิก 85-95% ใช้รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์คินสัน ข้ออักเสบ และแก้อาการผมร่วงได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน และใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและรถยนต์อย่างแพร่หลาย
แต่หากสกัดโดยใช้ความร้อนจะเกิดสารไรซิน สารพิษประเภทโปรตีน ซึ่งจัดว่ามีพิษรุนแรงเป็นสองเท่าของพิษงูเห่า โดยกินเนสส์บุ๊กได้จัดอันดับให้ไรซินเป็นสารพิษจากพืชที่มีความรุนแรงมากที่สุดในโลกในปี 2007

(45)