กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่เกินกว่าจะใช้ได้

กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่เกินกว่าจะใช้ได้

กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่เกินกว่าจะใช้ได้ อาคารหอดูดาวเก่าแก่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ริมฝั่งแม่น้ำแซน (Seine) เป็นสถานที่เก็บกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่มากตัวหนึ่ง และมีเลนส์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยผลิตมา เลนส์นี้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 49 นิ้ว (1.25 เมตร)

ในปี 1889 ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการจัดงาน World’s Fair เป็นอย่างมาก แต่เมื่อมีข่าวว่าเยอรมนีกำลังวางแผนจัดงานระดับนานาชาตินี้เช่นกัน ซึ่งอาจจะจัดขึ้นในปี 1896 หรือปี 1900 ข่าวดังกล่าวทำให้ฝรั่งเศสไม่สามารถจะอยู่นิ่งเฉยได้ เพราะพวกเขาเชื่อว่าประเทศใดที่เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ขึ้น จะเป็นผู้กำหนดอนาคตของศตวรรษที่ 19 ที่กำลังจะมาถึงได้ (พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ พวกเขาเชื่อว่าถ้าประเทศไหนเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ จะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก) รัฐบาลฝรั่งเศสจึงตัดสินใจที่จะจัดงาน 1900 World’s Fair ขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประเทศเยอรมนีกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่สามารถกำหนดอนาคตของโลกแทนพวกเขา

การสร้างกล้องโทรทรรศน์ “Great Paris” เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1892 ภายในไม่กี่เดือนหลังจากที่รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศแผนงาน “1900 World’s Fair” ในกรุงปารีส แนวคิดคือการสร้างบางสิ่งบางอย่างอย่างให้น่าทึ่งพอ ๆ กับหอไอเฟล เนื่องจาก World’s Fair คืองานแสดงสินค้าระดับโลกที่ถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศเจ้าภาพผู้จัดงานรวมทั้งประเทศที่เข้าร่วมงาน มีโอกาสที่จะแสดงความก้าวหน้าด้านการผลิต วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศตนเอง ประเทศต่าง ๆ จะแข่งกันโดยการนำเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ความสำเร็จทางวัฒนธรรม และสมบัติของจักรพรรดิมาจัดแสดง

กล้องโทรทรรศน์ Great Paris ซึ่งอยู่ภายใน Palais de l’Optique กลายเป็นจุดเด่นของงานในปีดังกล่าว กล้องโทรทรรศน์ตัวนี้มีเลนส์สองชนิดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.25 เมตร เลนส์หนึ่งสำหรับการมองด้วยตาเปล่า และอีกเลนส์หนึ่งสำหรับการถ่ายภาพ เลนส์เหล่านี้มีความยาวโฟกัส 57 เมตร และฐานที่วางกล้องตัวนี้มีความยาว 60 เมตร แต่ขนาดที่ใหญ่และน้ำหนักที่เยอะของมันทำให้ไม่สามารถใช้มองไปที่วัตถุทางดาราศาสตร์ได้ แต่มันกลับถูกวางไว้ในตำแหน่งแนวนอนแทน

กล้องตัวนี้ถูกจัดแสดงไว้ประมาณ 1 ปี โดยมีการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักดาราศาสตร์ใช้กล้องนี้สังเกตจุดบอดบนดวงอาทิตย์และกลุ่มเมฆหมอกบนท้องฟ้า ไปจนถึงถ่ายภาพขนาดใหญ่ของพื้นผิวดวงจันทร์ คนหลายพันคนต่างมางานเพื่อเยี่ยมชมกล้องโทรทรรศน์ตัวนี้ แต่ไม่มีใครสนใจที่จะซื้อมัน

เมื่อบริษัทที่สร้างกล้องตัวนี้ขึ้นล้มละลาย และกล้องตัวนี้ถูกเปิดประมูลในปี 1909 แต่ก็ยังไม่มีใครซื้อ ในที่สุดกล้องโทรทรรศน์ก็กลายเป็นแค่เศษเหล็ก และถูกเก็บไว้ที่หอดูดาวที่เดิม

แม้ว่ากล้องโทรทรรศน์ตัวนี้จะไม่มีประโยชน์ในด้านวิทยาศาสตร์ แต่ก็ถือเป็นจุดเด่นงานที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ทุกวันนี้ กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงเกือบทั้งหมดถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางดาราศาสตร์ เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ไม่ได้มีขนาดใหญ่ และไม่มีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง โดยกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงที่ใหญ่ที่สุดและสามารถใช้งานได้จริงในปัจจุบันอยู่ที่หอดูดาวตั้งอยู่ที่ “Yerkes” และใช้การหักเหของแสง 40 นิ้ว (102 ซม.) ซึ่งยังน้อยกว่ากล้องโทรทรรศน์ Great Paris ถึง 9 นิ้ว
ภาพและข้อมูล Amusing Planet

(3178)