โครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดีระดับท้องถิ่น ครั้งที่ 2

โครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดีระดับท้องถิ่น และภูมิภาค
เพื่อผลิตรายการส่งเสริม การเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ครั้งที่ 2

(ปิดรับสมัคร 15 มกรามค 2561)

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดีระดับท้องถิ่น และภูมิภาค เพื่อผลิตรายการส่งเสริม การเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ครั้งที่ 2

จังหวัดสงขลา : https://wp.me/s9Jp31-songkhla
จังหวัดนครราชสีมา : https://wp.me/p9Jp31-29M
จังหวัดอุดรธานี : https://wp.me/p9Jp31-29S
จังหวัดเชียงราย : https://wp.me/p9Jp31-29X
กรุงเทพมหานคร : https://wp.me/s9Jp31-bangkok
จังหวัดเพชรบุรี : https://wp.me/p9Jp31-2a6

ผู้สมัครผ่านการคัดเลือกต้องดาวน์โหลดใบตอบรับและส่งกลับมาที่ E-mail : info@nextstep.co.th
ดาวน์โหลดหนังสือตอบรับและเงื่อนไขการเข้าอบรมโครงการผู้ผลิตสารคดี คลิก>>


กำหนดการอบรม โครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่น และภูมิภาค

วันที่ 1 (วันศุกร์)
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสารและข้อตกลงในการฝึกอบรม
09.00 – 09.30 น. ตัวแทนของมูลนิธิฯ กล่าวรายงาน และตัวแทนของ กทปส. กล่าวเปิดการอบรมสัมมนา
09.30 – 10.00 น. กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตรายการด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์
10.00 – 12.00 น. อบรมเรื่องจรรยาบรรณสื่อ และความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อพึงมี
13.00 – 14.00 น. การสร้างสรรค์งานสารคดี
14.00 – 15.15 น. เทคนิคการนำเสนอ
15.30 – 17.00 น. เทคนิคการนำเสนอ (ต่อ)
18.30 – 20.00 น. Work Shop เลือกบทและเขียนบท

วันที่ 2 (วันเสาร์)
09.00 – 10.30 น. การถ่ายทำแบบมืออาชีพ
10.45 – 12.00 น. งานกล้อง (Camera Work)
13.00 – 14.00 น. ลักษณะงานถ่ายภาพสารคดี
14.00 – 15.00 น. การบันทึกเสียงอย่างมืออาชีพ
15.15 – 16.30 น. การลำดับภาพอย่างมืออาชีพ
16.30 – 17.30 น. หน้าที่ของเสียงในรายการโทรทัศน์
18.30 – 20.00 น. การทำ Work Shop เพื่อแนวคิดการสร้างสรรค์สารคดี เพื่อนำเสนอในวันรุ่งขึ้น

วันที่ 3 (วันอาทิตย์)
09.00 – 12.00 น. นำเสนองาน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน กลุ่มละ 10 นาที
13.00 – 15.30 น. เงื่อนไขการรับเงิน เพื่อผลิตรายการ และบันทึกข้อตกลงของการผลิตรายการ

หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรม ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สวมเสื้อคอปก และไม่สวมรองเท้าแตะ


ปัจจุบันผู้ผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะอยู่ภายในกรุงเทพฯ ทำให้การผลิตเนื้อหารายการส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ที่อาจจะไม่เหมาะสมกับการพัฒนาวัฒนธรรมในท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างผู้ผลิตในระดับท้องถิ่น และภูมิภาค เพื่อสร้างสมดุลของเนื้อหารายการให้เกิดขึ้นในสื่อโทรทัศน์ นอกจากนี้ตามกรอบการทำงานของ กสทช. ยังเปิดให้มีโทรทัศน์ดิจิตอล จำนวน 24 ช่อง รวมถึงช่องโทรทัศน์สาธารณะอีก 12 ช่อง ทำให้มีความต้องการผู้ผลิตที่มีความสามารถในการผลิตรายการสารคดี  การพัฒนาบุคลาการด้านการผลิตรายการ รวมถึงการอบรมด้านจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสื่อที่พึงมี จึงเป็นการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด การพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดีในท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตงานที่มีคุณภาพในท้องถิ่น โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เป็นการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนและเยาวชนได้มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการสาระความรู้ด้านการประกอบอาชีพ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรมผ่านสื่อกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่อโทรคมนาคม      

ในการนี้ มูลนิธิสำรวจโลก องค์กรที่จัดตั้งขึ้นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไร มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตลอดจนการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือกิจการสาธารณะประโยชน์ในด้านการสร้างองค์ความรู้ผ่านสื่อในช่องทางต่างๆ ได้มองเห็นปัญหาในการขาดแคลนบุคลากรด้านการสร้างสรรค์การเรียนรู้ จึงได้คิดแนวทางเพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ให้มีความสามารถเพียงพอสำหรับการพัฒนาสื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มูลนิธิสำรวจโลก จึงได้จัดตั้ง โครงการ “พัฒนาผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่น และภูมิภาค และผลิตรายการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้เกิดการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ ในระดับท้องถิ่น และภูมิภาค” เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์หลักดังกล่าวข้างต้นของมูลนิธิและเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ว่าด้วยเรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม

โครงการ “พัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดีระดับท้องถิ่น ครั้งที่ 2 ” ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรทั่วไปที่มีพื้นฐานในด้านการผลิตสื่อโทรทัศน์ให้มีความสามารถในด้านการผลิตสื่อสารคดีเพื่อการเรียนรู้ และเพื่อให้ภาคประชาชนและเยาวชนได้มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการสาระความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การศึกษา และศิลปวัฒนธรรม ผ่านสื่อกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่อโทรคมนาคม โดยได้จัดให้มีการจัดอบรมในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสงขลา(หาดใหญ่) จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี  จังหวัดเชียงราย และกรุงเทพมหานคร (ส่วนกลาง)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อพัฒนาบุคคลากรด้านการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ รองรับช่องทางสื่อที่จะเกิดขึ้นตามกรอบการทำงานของ กสทช.
  2. เพื่อสนับสนุน ให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตรายการสาระความรู้ ด้านสื่อโทรทัศน์
  3. เพื่อสร้างทักษะการผลิตรายการสาระความรู้ แก่บุคลากรด้านการผลิตรายการในระดับภูมิภาค ทั่วประเทศ
  4. เพื่อสร้างแนวคิดจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อสังคมของสื่อ และการผลิตสื่อสื่อเพื่อการเรียนรู้
  5. เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนและเยาวชนได้มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการสาระความรู้ด้านการประกอบอาชีพ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรมผ่านสื่อกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่อโทรคมนาคม

รายละเอียดโครงการ

การพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดี ในภูมิภาคและท้องถิ่น ให้มีโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง จริยธรรมสื่อ และความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ ยังมีการอบรมด้านการผลิตรายการสารคดีเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ชม โดยอาศัยเนื้อหาจากท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างสมดุลให้กับเนื้อหารายการที่มาจากหลากหลายภูมิภาค ไม่ใช่มาจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้ผลิตในส่วนภูมิภาค ที่มีมาตรฐาน ส่งเสริมรายการสารคดีในท้องถิ่น ไประดับภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินงานของมูลนิธิ แบ่งเป็นระยะการดำเนินการ อันได้แก่ ระยะที่หนึ่ง ทำการประชาสัมพันธ์และเชิญชวน ระยะที่สอง จัดอบรมสัมนาในแต่ละภูมิภาค ระยะที่สาม ผลิตรายการตามแนวคิดและพิจารณาแก้ไข และระยะที่สี่ คือการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ หลังจากระยะแรกที่ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว จะทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการทั้งสิ้น 300 คน และมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมจังหวัดละ 50 คน ในแต่ละภูมิภาคได้จัดให้มีการอบรมในหัวข้อเรื่องจรรยาบรรณสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อพึงมี และการอบรมในด้านการสร้างสรรค์งานสารคดี ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาที่สำคัญในการนำไปใช้ประกอบการผลิตสารคดี ประกอบด้วยหัวข้อเทคนิคการนำเสนอ  การเลือกบทและเขียนบท งานกล้องและการถ่ายทำแบบมืออาชีพ ลักษณะงานถ่ายทำสารคดี การบันทึกเสียงอย่างมืออาชีพ การลำดับภาพอย่างมืออาชีพ หน้าที่ของเสียงในรายการโทรทัศน์ รวมไปถึงการสร้างสรรค์งานกราฟฟิก เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์สารคดี และนำเสนอต่อโครงการในช่วงท้ายของการอบรม ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันทำงาน โดยในแต่ละภูมิภาคแบ่งออกเป็นภูมิภาคละ 10 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 60 กลุ่ม และหลังจากการอบรม แต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการผลิตสารคดีในท้องถิ่นของตนเองตามหัวข้อที่ได้นำเสนอไว้ ความยาว 25 นาที มูลนิธิได้จัดให้มีการตรวจทานแก้ไขสารคดีที่ได้ผลิต แต่ละกลุ่มจะได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการ เพื่อนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข และส่งผลงานฉบับสมบูรณ์คืนให้กลับโครงการภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดให้ เมื่อจบโครงการแล้ว ผู้ผลิตเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดเนื้อหารายการความรู้ที่หลากลาย เป็นการสร้างองค์ความรู้จากท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ช่วยให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมข้ามภูมิภาค สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีของวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายกันไปในแต่ละท้องที่ รวมไปถึงเป็นการสร้างอาชีพให้กับบุคลากรด้านการผลิตสื่อโทรทัศน์


สถานที่การจัดอบรมและวันเวลา สถานที่

ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมต้องเลือกจังหวัดที่เข้าร่วมอบรม โดยยึดหลักของจังหวัดที่ใกล้เคียง หรือ ความสามารถและสะดวกในการเข้าร่วมอบรม โดยการจัดอบรมในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 6 จังหวัด  ดังนี้

1. จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) วันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2562
2. จังหวัดนครราชสีมา (โคราช) วันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2562
3. จังหวัดอุดรธานี วันที่ 15 – 17 กุมภาพันธ์ 2562
4. จังหวัดเชียงราย วันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2562
5. จังหวัดกรุงเทพมหานคร วันที่ 1 – 3 มีนาคม 2562
6. จังหวัดเพชรบุรี (ชะอำ) วันที่ 8 – 10 มีนาคม 2562

สถานที่จัดอบรม

1. สงขลา – โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ วันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2562 
2. นครราชสีมา – โรงแรมแคนทารีโคราช วันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2562 
3. อุดรธานี – โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี วันที่ 15 – 17 กุมภาพันธ์ 2562
4. เชียงราย – โรงแรมเดอะริเวอรี่ บาย กะตะธานี วันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2562
5. กรุงเทพมหานคร – โรงแรมลิโวเทล หัวหมาก วันที่ 1 – 3 มีนาคม 2562
6. เพชรบุรี – โรงแรมเดอะ รีเจ้นท์ ชะอา บีช รีสอร์ท วันที่ 8 – 10 มีนาคม 2562


คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม

  1. นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะ หรือ แผนกที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการผลิตสื่อโทรทัศน์
  2. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานด้านการผลิตสื่อโทรทัศน์ ทั้งภาครัฐและเอกชน
  3. บุคคลทั่วไป ที่มีพื้นฐานทางด้านการผลิตรายการ และมีความต้องการที่จะเข้าอบรมเพื่อพัฒนาการผลิตรายการ
  4. สามารถลางาน หรือ มีเวลาสำหรับการเข้าร่วมอบรมจนครบตามหลักสูตร และมีเวลาในการผลิตรายการสารคดี เพื่อส่งกลับมายังโครงการ

โครงการจะให้การอบรมตามหลักสูตรดังนี้

  1. เรื่องจรรยาบรรณ และ ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อพึงมี
  2. เรื่อง ขั้นตอนการผลิตรายการสารคดี
  3. การร่วมทำ work shop เพื่อหากลุ่มและทำงานกลุ่ม

การอบรมเริ่มวันศุกร์ เวลา 8.30 น. เสร็จการอบรมวันอาทิตย์ เวลา 15.00 น.


เงื่อนไขและสิ่งที่จะได้รับจากโครงการ

  1. ทางโครงการจะจัดหาที่พักและอาหารให้ทุกมื้อ ขณะอบรมในโครงการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  2. ได้รับค่าเดินทาง 1,000 บาท สำหรับผู้เดินทางนอกเขตจังหวัดฯ (ใช้สำเนาบัตรประชาชน) จะได้รับค่าเดินทางต่อเมื่อมีการเข้าร่วมอบรมครบตามที่กำหนด 3 วัน
  3. จะต้องทำงานกลุ่มผลิตรายการสารคดี (25 นาที) กลับมาส่งโครงการในระยะเวลา 30 วัน
  4. จะได้รับค่าตอบแทนงานการผลิตรายการสารคดีเป็นกลุ่ม ตามคุณภาพของงาน ขั้นต้น 20,000 บาท (หักภาษีตามระเบียบสรรพากร)
  5. กลุ่มที่ผลิตรายการสารคดีที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากการพิจารณาของคณะกรรมการจะได้รับเงินตอบแทนพิเศษ อีก 10,000 บาท จำนวน 6 กลุ่ม

หมายเหตุ ค่าตอบแทน และค่าเดินทาง มีการหักภาษี ตามระเบียบของสรรพากร


เงื่อนไขหลังได้รับการอบรม

  1. ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามที่โครงการแจ้ง และสมัครเข้าร่วมการอบรมตามวิธีการของโครงการ รวมถึงให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน สำหรับการติดต่อ
  2. รวมกลุ่มและผลิตรายการสารคดีตามแนวคิดที่นำเสนอ ในความคมชัดคุณภาพสูง (HD) กลับมาส่งโครงการ รวมถึงต้องนำงานให้ตรวจสอบ 1 ครั้งตามที่โครงการกำหนด หากไม่ส่งงานหรือไม่มานำงานมาให้ตรวจสอบ จะไม่ได้รับเงินค่าผลิตในส่วนที่เหลือทั้งหมด
  3. ผลงานในการผลิตงานจะเป็นลิขสิทธิ์ของกองทุน กทปส. และมูลนิธิสำรวจโลก เพื่อใช้ในการเผยแพร่ในช่องทางที่เหมาะสม เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ
  4. ในกรณีที่ผู้ผลิตไม่ได้ผลิตเพลงเอง ผู้ผลิตต้องนำเอกสารอ้างสิทธิ์จากแหล่งที่มา เพื่อมาแสดงให้เห็นว่าสามารถนำเพลงไปใช้ได้
  5. กรณีใช้รูปภาพประกอบ ต้องมีแหล่งที่มาหรือแจ้งลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน

 

โหลดใบสมัคร  กดที่นี่

กรอกใบสมัครและส่งกลับมาที่ info@nextstep.co.th

ปิดรับสมัคร 15 มกราคม 2562

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID @nextsteptv

คลิกเลย
   เพิ่มเพื่อน

(11631)