มูลนิธิสำรวจโลก ขอเชิญชวน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
ที่มีพื้นฐานการผลิตรายการ และมีความต้องการที่จะเข้าอบรมเพื่อพัฒนาการผลิตรายการ
สมัครเข้าอบรม โครงการ Doc Hack การพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดี #3
กับโอกาสในการผลิตสารคดี เพื่อรับค่าผลิตและเงินรางวัลรวมกว่า 1,300,000 บาท
สมัครได้แล้ว ที่ www.tv.co.th/dochack
*สมัครเป็นทีม 4-5 คนจะได้รับการพิจารณาพิเศษ

สอบถามเพิ่มเติม Line@nextsteptv

 

Play Video

เรียน ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการสารดคีท้องถิ่น ครั้งที่ 3 Doc Hack #3

เนื่องจากมีผู้สมัครเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ทางโครงการต้องเร่งทำการพิจารณาคุณสมบัติ และคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการฯ และเพื่อให้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทางทีมงานจะมีการโทรสอบถามข้อมูลกับผู้สมัครแต่ละท่าน เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รบกวนให้ผู้สมัครรับสายและให้ข้อมูลตามความเป็นจริงด้วย เพื่อประโยชน์ของผู้สมัครทุกท่าน เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้กลับมาพิจารณา ตามขั้นตอนต่อไป

อนึ่ง ทางโครงการฯ ขอแจ้งให้ทราบว่า หากผู้สมัครไม่รับสาย และไม่ได้ให้ข้อมูลเพียงพอ ทางเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถนำเสนอชื่อเพื่อคัดเลือกเข้าอบรมในขั้นต่อไปได้

จึงเรียนเพื่อทราบ
ทีมงานโครงการ Doc Hack #3
ติดต่อโครงการ Line@nextsteptv

ปัจจุบันผู้ผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะอยู่ภายในกรุงเทพฯ ทำให้การผลิตเนื้อหารายการส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ที่อาจจะไม่เหมาะสมกับการพัฒนาวัฒนธรรมในท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างผู้ผลิตในระดับท้องถิ่น และภูมิภาค เพื่อสร้างสมดุลของเนื้อหารายการให้เกิดขึ้นในสื่อโทรทัศน์ นอกจากนี้ตามกรอบการทำงานของ กสทช. ยังเปิดให้มีโทรทัศน์ดิจิตอล จำนวน 24 ช่อง (ปัจจุบันเหลือ 15 ช่อง) ทำให้มีความต้องการผู้ผลิตที่มีความสามารถในการผลิตรายการสารคดี การพัฒนาบุคลาการด้านการผลิตรายการ รวมถึงการอบรมด้านจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสื่อที่พึงมี จึงเป็นการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด การพัฒนาผู้ผลิตรายการสารคดีในท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตงานที่มีคุณภาพในท้องถิ่น โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เป็นการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนและเยาวชนได้มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการสาระความรู้ด้านการประกอบอาชีพ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรมผ่านสื่อกระจายเสียงสื่อโทรทัศน์ และสื่อโทรคมนาคม

ในปัจจุบัน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มีนโยบายในการผลักดัน เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งเป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข

มูลนิธิสำรวจโลก เล็งเห็นว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของภาครัฐ เป็นสิ่งที่ดีและต้องวางแผนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง ในทิศทางที่ถูกต้อง แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องพัฒนาไปพร้อมกับ การเจริญเติบโตของเมือง คือการพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้มีความสามารถในการผลิตสื่อในท้องถิ่น เพื่อ สื่อสารภายในเมือง ภูมิภาค หรือในประเทศ ผ่านโครงข่ายและช่องทางต่าง ๆ ของเมืองอัจฉริยะ การผลิตรายการที่ดีมีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้นโยบาย เมืองอัจฉริยะ ได้รับการเชื่อมโยงผ่านเนื้อหารายการ (Contents) ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น และเพื่อสื่อสารกับคนในท้องถิ่น

โครงการต่อเนื่องในครั้งนี้ มูลนิธิสำรวจโลก มองเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาประชากรในประเทศ ด้วยเนื้อหารายการที่ดีและมีคุณภาพ ด้วยรายการสารคดี ซึ่งจะช่วยพัฒนาให้คนในกลุ่มเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้รับประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง และเมือง ด้วยข้อมูลที่ดีและเหมาะสมกับเมืองของตนเอง จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานักเรียน นักศึกษาบุคลากรในท้องถิ่นที่มีความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดให้สามารถผลิตรายการเพื่อสื่อสารกับคนในท้องถิ่น ภายใต้แนวนโยบาย เมืองอัจฉริยะ (Smart People) โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ ในด้านการผลิตรายการ ให้บุคคลเหล่านี้มีความรู้ ความสามารถในด้านการผลิตรายการที่มีมาตรฐาน สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง และประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และคุณภาพของสังคมเมือง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาค

    โครงการพัฒนาผู้ผลิตสารคดี

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ รองรับช่องทางสื่อที่จะเกิดขึ้นตามกรอบการทำงานของ กสทช.
2. เพื่อสนับสนุน ให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตรายการสาระความรู้ ด้านสื่อโทรทัศน์
3. เพื่อสร้างทักษะการผลิตรายการสาระความรู้ แก่บุคลากรด้านการผลิตรายการในระดับภูมิภาค ทั่วประเทศ
4. เพื่อสร้างแนวคิดจรรยาบรรณ จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของสื่อ และการผลิตสื่อสื่อเพื่อการเรียนรู้
5. เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากรผู้มีความพร้อม ได้มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการสาระความรู้ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ผ่านสื่อกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่อโทรคมนาคม

โครงการพัฒนาผู้ผลิตสารคดี

รายละเอียดโครงการ

การพัฒนาผู้ผลิตรายย่อย ในภูมิภาคและท้องถิ่น ให้มีโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง จริยธรรมสื่อ และความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ ยังมีการอบรมด้านการผลิตรายการสารคดี เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ชม โดยอาศัยเนื้อหาจากท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างสมดุลให้กับเนื้อหารายการที่มาจากหลากหลายภูมิภาค นำไปสู่การพัฒนาผู้ผลิตในส่วนภูมิภาคให้สามารถผลิตรายการที่มีมาตรฐาน สามารถใช้สื่อสารกับคนในท้องถิ่นหรือภูมิภาค และในระดับประเทศ ต่อไปในอนาคต

โดยจัดอบรมระดับท้องถิ่น ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ มุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรผู้ที่มีความพร้อมสำหรับการพัฒนา เพื่อสร้างสื่อที่ดีมีมาตรฐาน สำหรับการพัฒนาบุคลากร (Smart People) เพื่อผลักดันไปสู่แนวนโยบายเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยจัดอบรมขึ้นทั้งหมด 6 จังหวัด ในจังหวัดที่มีความพร้อมในการพัฒนาเมืองไปสู่เมืองอัจฉริยะ ตามนโยบายของรัฐ คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร ระยอง และภูเก็ต

ทั้งนี้ การดำเนินงานของมูลนิธิสำรวจโลก แบ่งเป็นระยะการดำเนินการ อันได้แก่ ระยะที่หนึ่ง ทำการประชาสัมพันธ์และเชิญชวน ระยะที่สอง จัดอบรมสัมมนาในแต่ละภูมิภาค ระยะที่สาม ผลิตรายการตามแนวคิดและพิจารณาแก้ไข และระยะที่สี่ คือการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ หลังจากระยะแรกที่ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว จะทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการทั้งสิ้น 300 คน และมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมจังหวัดละ 50 คน ในแต่ละภูมิภาค จัดให้มีการอบรมในหัวข้อเรื่องจรรยาบรรณสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อพึงมี และการอบรมในด้านการสร้างสรรค์งานสารคดี ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาที่สำคัญในการนำไปใช้ประกอบการผลิตรายการสารคดี ประกอบด้วยหัวข้อเทคนิคการนำเสนอ การเลือกบทและเขียนบท งานกล้องและการถ่ายทำแบบมืออาชีพ ลักษณะงานถ่ายทำสารคดี การบันทึกเสียงอย่างมืออาชีพ การลำดับภาพอย่างมืออาชีพ หน้าที่ของเสียงในรายการโทรทัศน์ รวมไปถึงการสร้างสรรค์งานกราฟิก เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์สารคดี และนำเสนอต่อโครงการในช่วงท้ายของการอบรม ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันทำงาน โดยในแต่ละภูมิภาคแบ่งออกเป็นภูมิภาคละ 10 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 60 กลุ่ม และหลังจากการอบรม แต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการผลิตสารคดีในท้องถิ่นของตนเองตามหัวข้อที่ได้นำเสนอไว้ ความยาว 25 นาที มูลนิธิฯได้จัดให้มีการตรวจทานแก้ไขสารคดีที่ได้ผลิต แต่ละกลุ่มจะได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการ เพื่อนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข และส่งผลงานฉบับสมบูรณ์คืนให้กับโครงการภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดให้ เมื่อจบโครงการแล้ว ผู้ผลิตเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดเนื้อหารายการความรู้ที่หลากลาย เป็นการสร้างองค์ความรู้จากท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ช่วยให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมข้ามภูมิภาค สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีของวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายกันไปในแต่ละท้องที่ รวมไปถึงเป็นการสร้างอาชีพให้กับบุคลากรด้านการผลิตสื่อโทรทัศน์

โครงการพัฒนาผู้ผลิตสารคดี

สถานที่การจัดอบรมและวันเวลา สถานที่ 

สถานที่โครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่นและภูมิภาค เพื่อผลิตรายการสารคดีสำหรับสื่อสารและพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 3

ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2565 โรงแรมคุ้มพญา รีสอร์ทแอนด์สปา เซ็นทาราบูติกคอลเลกชั่น
ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ พิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565  อวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์
ภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต 29 – 31 กรกฎาคม 2565 โนโวเทล ภูเก็ต กมลา บีช
ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง 5 – 7 สิงหาคม 2565 ฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีท ระยอง ซิตี้ เซ็นเตอร์
ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร 12 – 14 สิงหาคม 2565  ดุสิตธานี ศรีนครินทร์

*หมายเหตุหากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

โครงการพัฒนาผู้ผลิตสารคดี

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม

1. นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะ หรือ แผนกที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการผลิตสื่อโทรทัศน์
2. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานด้านการผลิตสื่อโทรทัศน์ ทั้งภาครัฐและเอกชน
3. บุคคลทั่วไป ที่มีพื้นฐานทางด้านการผลิตรายการ และมีความต้องการที่จะเข้าอบรมเพื่อพัฒนาการผลิตรายการ
4. สามารถลางาน หรือ มีเวลาสำหรับการเข้าร่วมอบรมจนครบตามหลักสูตร และมีเวลาในการผลิตรายการสารคดี เพื่อส่งกลับมายังโครงการ

หมายเหตุ หากสมัครเข้ามาเป็นกลุ่ม 4-5 คนจะได้รับการพิจารณาเข้าร่วมอบรมก่อน

โครงการพัฒนาผู้ผลิตสารคดี

โครงการจะให้การอบรมตามหลักสูตรดังนี้

  1. อบรม เรื่องขั้นตอนการผลิตรายการสารคดีอย่างมืออาชีพ (The Professional Documentary maker) (12-16 ชั่วโมง)
  2. อบรม เรื่องจรรยาบรรณ และ ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อพึงมี (Media Ethics: The responsibility of the media towards the society) (1-2 ชั่วโมง)
  3.  การร่วมทำ work shop แบบแบ่งกลุ่มและทำงานกลุ่ม (2-3 ชั่วโมง)

เงื่อนไขและสิ่งที่จะได้รับจากโครงการ

  1. ทางโครงการจะจัดหาที่พักและอาหารให้ทุกมื้อ ขณะอบรมในโครงการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

  2. จะต้องทำงานกลุ่มผลิตรายการสารคดี (25 นาที) กลับมาส่งโครงการในระยะเวลา 30 วัน

  3. จะได้รับค่าตอบแทนการผลิตรายการสารคดีเป็นกลุ่ม ตามมาตรฐานของโครงการ ขั้นต้น 12,000 บาท

    โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือ
    1) หลังจากส่งงาน Draft แรก (ตรวจสอบโดยคณะกรรมการแล้ว) จำนวน 5,000 บาท
    2) หลังจากส่งงานแก้ไข (ตามมาตรฐานของการส่งงานของโครงการ) จำนวน 7,000 บาท
    (หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบสรรพากร)
    4. กลุ่มที่ผลิตรายการสารคดีที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากการพิจารณาของคณะกรรมการจะได้รับพิจารณาค่าตอบแทนพิเศษ ดังนี้
    สารคดียอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 100,000 บาท
    สารคดีดีเด่น อันดับที่ 1 จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 50,000 บาท
    สารคดีดีเด่น อันดับที่ 2 จำนวน 5 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท
    สารคดีที่มีคุณภาพ จำนวน 15 รางวัล ๆ ละ 20,000 บาท
    รวมมูลค่า 1,320,000 บาท

    หมายเหตุ *ค่าตอบแทนการผลิตสารคดี/ค่าตอบแทนพิเศษ จะโอนให้หลังจากได้รับอนุมัติงบประมาณจากผู้ให้ทุนแล้ว (ประมาณ 60-90 วัน)
    *ค่าตอบแทนพิเศษอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของคุณภาพสารคดีที่ผู้เข้าร่วมอบรม ผลิตกลับมาให้โครงการฯ
    *คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
    *ค่าตอบแทนพิเศษ จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของสรรพากร

โครงการพัฒนาผู้ผลิตสารคดี

เงื่อนไขหลังได้รับการอบรม

  1. เมื่ออบรมครบหลักสูตรแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องจัดกลุ่มๆ ละ 5 คน เพื่อนำเสนอแนวคิดและผลิตรายการสารคดีตามแนวคิดที่นำเสนอ ความยาว 25 นาที กลับมาส่งโครงการ ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้
  2. ผลงานในการผลิตงานจะเป็นลิขสิทธิ์ของกองทุน กทปส. และมูลนิธิสำรวจโลก เพื่อใช้ในการเผยแพร่ในช่องทางที่เหมาะสม เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ
  3. ผู้เข้าร่วมอบรม ต้องใช้ลิขสิทธิ์เพลงประกอบสารคดีตามที่โครงการระบุให้ใช้เท่านั้น
  4. กรณีใช้รูปภาพประกอบหรือวิดีโอที่ไม่ได้ถ่ายทำเอง ต้องมีแหล่งที่มาและมีหนังสือให้ใช้สิทธิ์ทุกครั้งที่นำมาใช้
  5.  ผู้ที่เข้าร่วมการอบรมจนครบหลักสูตรและส่งผลงานสารคดีกลับคืนให้โครงการฯ โดยครบถ้วน จะได้รับเกียรติบัตร เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร
  6. หากยืนยันการเข้าร่วมอบรมแล้ว มีเหตุที่ไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ตามกำหนดการ ต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่โครงการทราบก่อนวันอบรมจริง 7-15 วัน หรือโดยเร็วที่สุด หากพบว่าขาดการอบรมโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าทางโครงการฯ จะตัดสิทธิ์ในการสมัครเข้าร่วมอบรมในโครงการฯ ครั้งต่อไป
  7. ในการรับค่าตอบแทนของแต่ละกลุ่ม ตัวแทนกลุ่มจะต้องมีชื่อบัญชีที่ตรงกับรายชื่อเป็นผู้เข้าร่วมการอบรมในโครงการฯ เท่านั้น

กรอกใบสมัครที่นี่ 

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ (สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน )