เป็นระยะเวลากว่า 2 ปีที่คนไทยได้ประสบปัญหากับมลพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและลมหายใจเรา ฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่น PM 2.5 สาเหตุเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ท่อไอเสียจากยานพาหนะ กลายเป็นเขม่าควันที่ได้กระจายไปทั่วพื้นที่ อีกสาเหตุคือเกิดจากสภาพอากาศที่เป็นหมอกในตอนเช้า เป็นอากาศที่ไม่มีกระแสลม ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง pm 2.5 ที่เพิ่มขึ้น เมื่อรวมตัวกัน กลุ่มฝุ่นละอองจะไม่ลอยตัวขึ้น จึงทำให้แพร่กระจายอยู่ทั่วบริเวณที่เราอาศัยอยู่
เรื่องที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด คือ ฝน สามารถช่วยลดปริมาณฝุ่นได้ มีการทดลองวัดค่าของฝุ่น pm 2.5 หลังจากฝนตก พบว่าหลังจากที่ฝนหยุดตก ท้องฟ้าแจ่มใส และค่าของฝุ่น pm 2.5 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากนั้นภายในวันเดียวกันก็ได้มีการทดลองวัดค่าฝุ่นอีกครั้ง กลับพบว่าค่าฝุ่นละอองยังคงอยู่เท่าเดิม แสดงว่าเพียงแค่น้ำฝนไม่อาจจะทำให้ปริมาณฝุ่นลดลงได้แต่เป็นเพราะกระแสลมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตกนั่นเองที่พัดฝุ่นละออง pm 2.5 ขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศไปยังพื้นที่อื่น แต่ในที่สุดกระแสลมก็จะพัดละอองฝุ่นจากพื้นที่อื่นเข้ามาด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น ฝนตก จึงช่วยให้ปริมาณฝุ่นลดลงได้แค่บางส่วน แต่ไม่สามารถทำให้ตัวโมเลกุลฝุ่นละอองหายไปได้
ที่มา Smartairfilters, lou qm ,Uwe Schwarzbach
(230)