ดาวเทียมสเปซเอ็กซ์สู่ขิตหลังปล่อยได้วันเดียว

ดาวเทียมสเปซเอ็กซ์สู่ขิตหลังปล่อยได้วันเดียว

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่บรรทุกดาวเทียม Starlink 49 ดวง ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจาก Kennedy Space Center ในฟลอริดา แต่เพียง 1 วันหลังจากนั้น พายุแม่เหล็กโลกก็เข้าจู่โจมจนทำให้ดาวเทียมตกลงสู่พื้นโลกและเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ

ดาวเทียม SpaceX เริ่มโคจรรอบโลกบนความสูง 210 กิโลเมตร ดาวเทียมเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาให้สามารถถูกกำจัดได้อย่างง่ายดายในกรณีที่เกิดความล้มเหลวหลังการปล่อย แต่ขณะเดียวกันการอยู่ในวงโคจรต่ำ ก็ทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการเจอพายุแม่เหล็กโลก

ระบบ GPS ของดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าพายุทำให้เกิดแรงดึงดูดของบรรยากาศเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ดาวเทียมจึงได้รับคำสั่งให้หลบพายุโดยการขึ้นไปโคจรขอบบนสุดของวงโคจรระดับต่ำ แต่แรงดึงดูดมีมากเกินไปจนทำให้ดาวเทียมทั้งหมดร่วงลงสู่พื้นโลก แต่จะไม่มีการสร้างเศษซากในวงโคจรและไม่มีชิ้นส่วนดาวเทียมตกกระทบพื้น

นับตั้งแต่ดาวเทียม Starlink ดวงแรกเปิดตัวในปี 2019 SpaceX ได้นำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรโลกแล้ว 2,000 ดวง และบริษัทวางแผนที่จะส่งดาวเทียมมากถึง 42,000 ดวง โปรแกรม Starlink จะให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ลูกค้าจากที่ใดก็ได้ในโลก แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องจากนักดาราศาสตร์ เนื่องจากดาวเทียมเหล่านี้มักจะปล่อยให้มีริ้วสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ซึ่งจะทำลายการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

พายุแม่เหล็กโลก หรือ พายุแม่เหล็ก เป็นการรบกวนชั่วคราวของสนามแม่เหล็กโลกที่เกิดจากคลื่นลมสุริยะและ/หรือกลุ่มเมฆสนามแม่เหล็กที่ทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก โดยพายุแม่เหล็กโลกที่ดาวเทียมพบในครั้งนี้ มาจากลมสุริยะที่พัดออกมาจากการระเบิดมวลโคโรนาจองดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม

ภาพ SpaceX

(27)