เหล่านักวิชาการสันนิษฐานว่า เรือลำนี้จมอยู่ใต้แม่น้ำไนล์มานานกว่า 2,500 ปีแล้ว และตอนนี้ความลับของมันกำลังจะถูกเปิดเผย และซากเรือนี้อาจเป็นเบาะแสสำคัญสำหรับข้อถกเถียงของนักวิทยาศาสตร์ที่มีมานานนับศตวรรษ
ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ลำดับที่ 2.96 ของเฮอโรโดทัส ที่เผยแพร่เมื่อราว 450 ปีก่อนคริสตกาล เขาได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปอียิปต์ ด้วยเรือบรรทุกสินค้าในแม่น้ำไนล์ที่เรียกว่า “Baris”
ในภาพร่างมันถูกสร้างขึ้นด้วยอิฐ สานพื้นเรือด้วยต้นกกและมีช่องที่ท้องเรือสำหรับใส่หางเสือรอดผ่านไปด้านนอก โดยใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยแรงลมและมีคนคอยบังคับทิศทางด้วยหางเสือ เหมือนกับที่เห็นได้ในรูปแบบของเรือยุคฟาโรห์ แต่เรายังไม่เคยค้นพบหลักฐานการมีอยู่ทางโบราณคดีนอกเหนือจากภาพวาดจนถึงตอนนี้
เรือนี้ถูกเรียกว่า Ship 17 พบในเมืองท่าโบราณ Thonis-Heracleion ที่เคยรุ่งเรืองในช่วง 664-332 ปีก่อนคริสตกาล แต่ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำใกล้กับปากแม่น้ำไนล์ ที่นี่นักวิจัยได้มีการสำรวจซากเรือไปแล้วกว่า 70 ลำ ซึ่งเผยให้เห็นถึงรายละเอียดที่น่าทึ่งเกี่ยวกับศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมยุคโบราณมากมาย แม้ว่าจะอยู่ในน้ำมาแล้วอย่างน้อย 2,000 ปี แต่ตัวเรือของ Ship 17 ก็ยังคงมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ถึง 70%
“การค้นพบซากเรือครั้งนี้ทำให้เรารู้ว่าเฮอโรโดทัสนั้นพูดถูกต้อง” นักโบราณคดีดาเมียน โรบินสัน แห่งศูนย์ออกซ์ฟอร์ดแห่งโบราณคดีทางทะเล กล่าวกับ The Guardian
เรือแสดงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ Herodotusได้ระบุไว้
ข้อต่อของการปูกระดานของ Ship 17 นั้นได้ปรากในลักษณะที่ทำให้มันดูเหมือน ‘การก่ออิฐ’ ตามการอธิบายของ เฮอโรโดทัส ” เขียนโดยนักโบราณคดี Alexander Belov แห่งศูนย์ศึกษาศาสตร์อียิปต์แห่งรัสเซีย Academy of Sciences ในปี 2013
“ เฮอโรโดทัสอธิบายถึงเรือว่าเรือมีซี่โครงภายในที่ยาว ไม่มีใครรู้จริง ๆ ว่ามันคืออะไร…โครงสร้างนั้นไม่เคยเห็นมาก่อนทางโบราณคดีเลย” โรบินสันกล่าว
ต่อจากนั้นเราก็ค้นพบรูปแบบการก่อสร้างบนเรือลำนี้และมันเป็นดังที่เฮอโรโดทัสได้กล่าวไว้ และแน่นอนว่ามีหางเสือที่สวยงามซึ่งถูกสอดผ่านสองรูในท้ายเรือ วางไว้ข้างหน้าหลุมอื่น ๆ ดูเหมือนว่าจะทำให้มีการบังคับทิศทางได้ดีขึ้นโดยขึ้นอยู่กับว่าเรือบรรทุกสินค้าเต็มไปหรือไม่
จากการค้นพบโดยละเอียดนี้นักวิจัยเชื่อว่า Ship 17 นั้นใกล้เคียงกับคำอธิบายของเฮอโรโดทัส ว่ามันน่าจะถูกสร้างขึ้นในอู่ต่อเรือเดียวกัน
การสำรวจการก่อสร้างของเรือของ Belov ได้รับการตีพิมพ์ในเอกสารโดย Oxford Centre for Maritime Archeology
(25474)