Beijing’s Underground City เมืองใต้ดินแห่งมหานครปักกิ่ง เมืองที่ใครหลายคนไม่รู้จักมาก่อน

ในช่วงค.ศ. 1950 หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นช่วงแห่งการปะทุของสงครามเย็น (ค.ศ. 1947 – 1991) และความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติคอมมิวนิสต์ผู้ยิ่งใหญ่ คือสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียต ปมปัญหาความขัดแย้งและความขุ่นเคืองของทั้งสองประเทศนี้เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองของพวกเขา และยิ่งนานวันเข้าความขัดแย้งที่มีอยู่ในนั้นก็ยิ่งก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ทั้งสองประเทศนี้ไม่ลังเลเลยหากต้องใช้อาวุธนิวเคลียร์ในสงครามครั้งนี้

และในปี 1969 ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้น ประธานเหมา เจ๋อตุงได้ออกคำสั่งให้คนในชาติขุดหลุมหลบภัยขึ้นภายใต้บ้านของพวกเขาเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการโดนโจมตีทางอากาศจากสหภาพโซเวียต จนกระทั่งถึงช่วงปลายยุค 1970 ได้มีรายงานว่า 75 หัวเมืองใหญ่ทางชนบทของจีน ได้ค้นพบว่ามีการขุดหลุมหลบภัยในพื้นที่นั้นมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์จากประชากรในเมืองที่อาศัยอยู่

ในมหานครปักกิ่งก็เช่นเดียวกัน ประชากรชาวเมืองปักกิ่งจำนวนหนึ่ง หรือประมาณราวๆ สามแสนคนได้ลงมือช่วยกันขุดหลุมหลบภัยที่ประเมินจำนวนได้ ราวหนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นหลุม และในระยะทาง 30 กิโลเมตรนี้ของหลุมหลบภัยก็มีเส้นทางที่เชื่อมต่อพวกเขาเอาไว้ด้วยกัน ความร่วมมือนี้เกิดจากชาวบ้านทุกคนไม่ว่าจะเป็นชายหนุ่ม หญิงสาวหรือแม้กระทั่งเด็กนักเรียนด้วยก็ตาม ทุกคนต่างก็ได้มีส่วนรวมในความพยายามสร้างหลุมหลบภัย เหมือนกับการสร้างกำแพงเมืองที่ผ่านมานับร้อยๆปีแล้ว พวกเขาร่วมมือกันสร้างกำแพงเมืองที่จะปกป้องพวกเขาเอาไว้ ถึงแม้การสร้างสิ่งเหล่านี้จะเป็นเรื่องลำบากมากก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการขนย้ายวัสดุ ความยากลำบากในการก่อสร้าง แต่ทว่าพวกเขาก็สามารถทำมันได้สำเร็จเพราะความพยายามที่อยากจะปกป้องพวกพ้องของพวกเขาทุกคน

หลุมหลบภัยและบังเกอร์ที่ใช้มือขุดเป็นส่วนใหญ่ ในเวลานี้ได้แผ่ขยายพื้นที่ออกไปถึง 85 ตารางกิโลเมตร มันขยายกว้างไปถึงฝั่งเวสเทิร์นฮิลส์บริเวณใกล้สุดขอบของเมือง มีการสันนิษฐานกันว่าประชากรชาวปักกิ่งประมาณ 8 ล้านคนในขณะนั้นอาจสามารถหายตัวลงไปหลบซ่อนอยู่ในหลุมหลบภัยที่พวกเขาขุดกันเองได้ถึง 4 เดือน เพื่อรอให้สถาณการณ์บนภาคพื้นดินสงบปลอดภัยและรอดพ้นจากการถูกโจมตีทางอาวุธนิวเคลียร์และการโจมตีทางสารเคมีเสียก่อน

แต่สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นความพยายามที่ศูนย์เปล่า เมื่อท่านประธานเหมา เจ๋อตุงถึงอสัญกรรมในปี 1976 และผู้รับช่วงดำรงตำแหน่งต่อจากท่านประธานเหมาก็คือท่านเติ้ง เสี่ยวผิง

หลังจากที่ได้รับตำแหน่งในการสืบทอดอำนาจต่อจากประธานเหมา เติ้ง เสี่ยวผิงก็ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ โดยมีนโยบายผลักดันพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจจีนที่แตกต่างจากแนวคิดของประธานเหมา โดยใช้วิธีผลักดันเศรษฐกิจด้วยการเปิดประเทศและผลักดันให้มีกลุ่มเศรฐกิจคนรวยเพิ่มขึ้นเพื่อผลักดันประเทศ Sino-Soviet หรือที่เรียกกันว่าเหตการณ์ความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียด ในระหว่างปี 1950 ถึง 1960 ยังเป็นปัจจัยให้ความสำคัญทางการเมืองระหว่างจีนและโซเวียดลดลง และด้วยความพยายามที่จะไม่ให้การขุดหลุมหลบนั้นต้องเสียเปล่า กระทรวงกลาโหมของรัฐบาลได้ออกคำสั่งให้ประชาชนทำธุรกิจเพื่อที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ในหลุมหลบภัยได้ และในเจ้าของจำนวนหนึ่งของหลุมหลบภัยก็ได้เปลี่ยนให้เป็นห้องพักให้เช่า ส่วนคนอื่นๆที่มีความคิดแตกต่างกันไปก็เปลี่ยนหลุมหลบภัยให้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์ ร้านอาการ คลีนิก โรงเรียน โรงฉายภาพยนตร์ โรงงาน หรือแม้กระทั่งฟาร์มเพาะเห็นด้วยก็ตาม นอกจากนี้ยังมีลานนโรลเลอร์สเก็ตขึ้นด้วย

(1774)