ดาวยักษ์น้ำเงินที่ไกลที่สุด

อิคารัส (Icarus) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า MACS J1149 +2223 Lensed Star 1 (LS1) เป็นดาวยักษ์สีน้ำเงินที่อยู่ไกลจากโลกถึง 14,000 ล้านปีแสง ซึ่งจับภาพได้โดยบังเอิญด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขณะเกิดปรากฏการณ์เลนส์โน้มถ่วง (Gravitational lens) ทำให้แสงจากกระจุกกาแล็กซี่ขนาดใหญ่เกิดการบิดโค้งจนสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลมาก ซึ่งตามปกติแล้วดาวที่อยู่ห่างไกลขนาดนี้จะอยู่เกินกว่าที่กล้องฮับเบิลจะสามารถจับได้ และเป็นครั้งแรกที่กล้องสามารถจับภาพของวัตถุระยะไกลที่อยู่ในภาวะเสถียร (ไม่ใช่การพบเมื่อเกิดปรากฏการณ์พิเศษอย่างซูเปอร์โนวา)

ดาวยักษ์(Giant star) คือดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งที่มีรัศมีและความส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากัน โดยทั่วไปดาวยักษ์จะมีรัศมีระหว่าง 10 ถึง 100 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ และความส่องสว่างระหว่าง 10 ถึง 1,000 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ที่มีความสว่างยิ่งกว่าดาวยักษ์จะเรียกว่า ดาวยักษ์ใหญ่ และดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ บางครั้งดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีความร้อนสูงและส่องสว่างมากๆ ก็อาจถูกเรียกว่าดาวยักษ์ได้เช่นเดียวกัน การที่ดาวยักษ์มีรัศมีและความส่องสว่างที่สูงมาก ทำให้มันอยู่เหนือแถบลำดับหลัก (ค่าความส่องสว่างระดับ V ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ของเยอร์เกสบนไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์ เทียบกับกับระดับความส่องสว่าง II หรือ III

ภาพ NASA, ESA, and P. Kelly (University of Minnesota)

(253)