ไขมันหน้าท้อง เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะกระบวนการเมตาบอลิซึม การออกกำลังกายจะช่วยลดมวลไขมันหน้าท้องได้ แต่กระบวนการพื้นฐานในการสลายมวลไขมันหน้าท้องนั้นยังไม่ชัดเจน กระทั่งพบงานวิจัยใหม่ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Cell Metabolism แสดงให้เห็นว่า เซลล์โมเลกุลที่เรียกว่า interleukin-6 มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในกระบวนการนี้
Wedell-Neergaard และคณะ แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายเพื่อลดมวลไขมันที่หน้าท้องของผู้เป็นโรคอ้วนนั้นต้องการ interleukin-6 (IL-6) และเนื่องจากไขมันในหน้าท้องนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ งานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาผลข้างเคียงที่สำคัญของ interleukin-6 (IL-6) โดยเปรียบเทียบจากการฉีดยายับยั้ง IL-6 เช่น tocilizumab เครดิตรูปภาพ: Wedell-Neergaar และคณะ
“พวกเราตั้งข้อสมมติฐานว่าการลดไขมันหน้าท้องจากการออกกำลังกายจำเป็นต้องใช้ interleukin-6 สื่อกลาง เพราะ interleukin-6 ควบคุมการเผาผลาญพลังงาน และกระตุ้นการสลายไขมันในคนที่มีสุขภาพดี ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาจากกล้ามเนื้อกระดูกในระหว่างการออกกำลังกาย” คำกล่าวจาก Dr. Helga Ellingsgaard และผู้ร่วมงานวิจัย มหาวิทยาลัย Copenhagen
เพื่อพิสูจน์ข้อสมมติฐานนี้ นักวิจัยใช้เวลาทดลองด้วยกันทั้งหมด 12 สัปดาห์ ซึ่งพวกเขาคัดเลือกกลุ่มประชากรโดยการสุ่มผู้เป็นโรคอ้วนลงพุงแล้วแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 53 คน โดยจะแบ่งกลุ่มที่ได้รับการฉีดยา tocilizumab (ซึ่งเป็นยาที่จะยับยั้ง interleukin-6 โดยปกติแล้วใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์) แล้วนำมาเปรียบเทียบกับผู้ที่ฉีดน้ำเกลือซึ่งเป็นยาหลอกในทุก ๆ 4 สัปดาห์ และแบ่งกลุ่มที่ไม่มีการออกกำลังเพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ปั่นจักรยานเป็นประจำ 45 นาที ต่อสัปดาห์
นักวิทยาศาสตร์ใช้การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กเพื่อประเมินมวลไขมันหน้าท้องในช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุดการศึกษา
โดยในกลุ่มที่ฉีดยาหลอกการออกกำลังกายลดมวลไขมันภายในอวัยวะโดยเฉลี่ยได้ 225 กรัมหรือ 8% เมื่อเทียบกับที่ไม่ออกกำลังกาย แต่ในกลุ่มที่ฉีดยา tocilizumab กำจัดผลกระทบนี้
ตรงกันข้ามในกลุ่มที่ฉีดยา tocilizumab ยังเพิ่มมวลไขมันภานในอวัยวะประมาณ 278 กรัมเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ฉีดยาหลอกอีกด้วย
หรือก็คือ tocilizumab จะเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลทั้งหมด และระดับ low-density-lipoprotein (LDL) ซึ่งเป็นไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉีดยาหลอก ทั้งในกลุ่มที่ออกกำลังกาย และกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย
“สำหรับความรู้นี้ เป็นงานวิจัยแรกที่แสดงให้เห็นว่า interleukin-6 มีบทบาทสำคัญทางสรีรวิทยาในการควบคุมมวลไขมันในหน้าท้องของมนุษย์” คำกล่าวจากผู้เขียนงานวิจัย Dr. Anne-Sophie และWedell-Neergaard มหาวิทยาลัย Copenhagen
ที่มา : sci-news.com
(763)