8 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้เราไม่ละเลยอาการป่วยของสัตว์เลี้ยง

คนเลี้ยงสัตว์หลายคนคงจินตนาการไม่ได้ว่า ถ้าหากวันหนึ่งต้องใช้ชีวิตโดยไม่มีเจ้าสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ แสนน่ารักแบบนี้อีกต่อไปได้เลย ดังนั้น การทำให้เหล่าสัตว์เลี้ยงมีชีวิตอยู่ยาวนานและแข็งแรง พวกเราต้องหมั่นตรวจเช็คสัญญาณอันตรายจากสัตว์เลี้ยง เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของการป่วยได้

 

  1. วัดอุณหภูมิสัตว์เลี้ยง

โดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์พิเศษสำหรับสัตว์เลี้ยง วิธีการคือสอดปลายเทอร์โมมิเตอร์สำหรับสัตว์เพื่อวัดอุณหภูมิโดยอย่าสอดให้ลึกมาก เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับบาดเจ็บได้ ตามผลตรวจทั่วไป แมวจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 37.7°C – 39.1°C ส่วนสุนัขอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 38°C โดยหากเพิ่มหรือลด 1-2 องศาก็ไม่ถือว่าเป็นอันตราย

 

  1. การวัดอัตราการเต้นหัวใจของสัตว์เลี้ยง

– ขั้นตอนการวัดอัตราการเต้นหัวใจของแมว วางมือลงบนบริเวณอกของแมวด้านหลังศอกของแมว นับอัตราการเต้นนาน 15 วินาที จากนั้นนำเอาผลอัตราการนับที่ได้คูณด้วย 4 อัตราการเต้นของหัวใจแมวอยู่ที่ 140-220 ครั้ง/นาที

– ขั้นตอนการวัดอัตราการเต้นหัวใจของสุนัข วางฝ่ามือของคุณบนบริเวณใต้รักแร้ของสุนัข อัตราการเต้นของหัวใจสุนัขอยู่ที่ 70-120 ครั้ง/นาที ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของสุนัขด้วย

 

  1. ตรวจหาความผิดปกติของดวงตา

ปัญหาที่ปรากฏในดวงตาเป็นปัญหาหลักที่เหล่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องพาพวกเขาไปหาสัตวแพทย์ การติดเชื้อที่ดวงตาเป็นเรื่องลำบากและสาหัสอย่างมาก เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงตาบอดได้เลย เพราะฉะนั้นจึงต้องหมั่นสังเกตสภาพดวงตาของสัตว์เลี้ยงเป็นประจำว่ามีความผิดปกติหรือไม่

 

  1. สำรวจใบหูว่ามีเห็บหมัดหรือรอยแผล

หรือการสำรวจว่าภายในมีการติดเชื้อหรือไม่ โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องตื่นตระหนกที่จะเปิดใบหูของสัตว์เลี้ยงดู เพราะอาจต้องพาสัตว์เลี้ยง ไปโรงพยาบาลหรือคลินิกรักษาโดยเร็วถ้ามีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

– ภายในหูส่งกลิ่นเหม็น

– มีก้อนหรือตุ่มโผล่อยู่

– ผิวหนังหูอักเสบ

– บางส่วนภายในได้รับบาดเจ็บ

  1. รักษาความสะอาดของอุ้งเท้าและเล็บอยู่เสมอ

เพราะสัตว์เลี้ยงใช้อุ้งเท้าและเล็บของเขาอยู่ทุกวัน และอาจได้รับการติดเชื้อมาจากการเล่นกับสัตว์อื่นหรือได้รับบาดแผล โดยหากพบว่ามีเลือดไหลออกมา ต้องรักษาโดยทันที ห้ามปล่อยให้แผลสมานเองเด็ดขาด เพราะสัตว์เลี้ยงของเราอาจต้องทนอยู่กับความทรมานได้

 

  1. สำรวจสุขภาพปาก

ลองดูที่ฟันของสัตว์เลี้ยงดูบ้างว่ามีปัญหาบ้างไหม เช่น มีกลิ่นปาก ฟันหลุดหรือหัก เคี้ยวอาหารแปลกไปจากปกติ กินอาหารน้อยลงหรือแทบไม่กิน มีเลือดออก และมีแผลรอบบริเวณปาก

 

  1. ควบคุมอาหารและพฤติกรรม

ดูแลการบริโภคอาหารและควบคุมวดพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากสุนัขที่มีน้ำหนักเกิดมาตรฐานเสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่ายและทำให้อายุขัยสั้นกว่าอายุขัยเฉลี่ย สำรวจและให้ความสนใจเมื่อสัตว์เลี้ยงแสดงท่าทีเศร้าสร้อย ขี้เกียจเกินกว่าปกติ หรือน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว

 

  1. สำรวจขนและผิวหนัง

ตรวจสอบสภาพผิวหนังของสัตว์เลี้ยงว่ามีพวกเห็บ หมัด หรือบาดแผลบ้างหรือไม่ ถ้ามีต้องกำจัดทิ้งเพราะเป็นพาหะของโรคในสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ

เห็บ

(7965)