ส้อม เข้ามาในไทยตั้งแต่เมื่อใด

ส้อม เป็นเครื่องครัว ที่ประกอบไปด้วยด้ามจับและปลายแหลมหรือเงี่ยงหลายซี่ที่อีกด้าน โดนปกติมีประมาณ 2-4 ซี่. ส้อมเป็นอุปกรณ์ในการช่วยรับประทานอาหารที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศตะวันตก ขณะที่เอเชียตะวันออกจะใช้ตะเกียบเสียมากกว่า ซึ่งปัจจุบันนี้เอเชียตะวันออกก็ใช้ส้อมอย่างแพร่หลายแล้วเช่นกัน

เครื่องใช้นี้มักทำมาจากโลหะใช้ในการตักอาหารเข้าปาก ซึ่งอาหารที่ถูกตักจะสามารถยกขึ้นได้ด้วยการใช้เงี่ยยงแทงเข้าไป หรือใช้ตักอาหารโดยให้อาหารอยู่ข้างบนเงี่ยงนั้นแล้วถือด้ามจับในแนวนอน ซึ่งการจะใช้ส้อมตักแบบนี้ได้มักเป็นส้อมที่มีลักษณะงุ้มขึ้นตรงปลาย นอกจากนี้ส้อมยังใช้ในการช่วยกลับอาหารขณะปรุงอาหาร หรือใช้ในการตัดอาหารด้วย

 

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ช้อนกึ่งส้อม (spork) อันเป็นเครื่องใช้ในครัวที่มีลักษณะกึ่งช้อนกึ่งส้อม อันเป็นการพยายามออกแบบให้เป็นเครื่องใช้ในครัวเพียงชิ้นเดียวที่ใช้ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ เพื่อลดความยุ่งยากในการมีเครื่องใช้ในครัวหลายชิ้นลง โดยเฉพาะมีด ด้านหลังของช้อนกึ่งส้อมออกแบบเป็นรูปทรงคล้ายช้อนซึ่งสามารถใช้ตักอาหารหรือแม้แต่ของเหลวได้ ขณะที่ตรงปลายมีเงี่ยงเล็กๆ คล้ายส้อมช่วยในการจิ้มอาหาร ทำให้สะดวกต่อการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมในการรับประทานอาหารจานด่วนและใช้ในกองทัพของชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก

 

ในวัฒนธรรมไทย ไม่ปรากฏชัดการนำส้อมเข้ามาใช้ว่ามีมาแต่เมื่อใด แต่เนื่องจากมีการใช้ช้อนอย่างแพร่หลายในการตักข้าวอยู่แล้ว ส้อมจึงอยู่ในฐานะในอุปกรณ์ที่ช่วยในการรับประทานอาหารอันมีหน้าที่ช่วยเกลี่ยอาหารในจาน ช่วยตัดชิ้นเนื้อ และช่วยจิ้มอาหารเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ตักเป็นหลักอย่างที่ชาวตะวันตกใช้แต่อย่างใด

 

ส่วนช้อนกึ่งส้อมนั้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แต่เนื่องจากชาวไทยมิได้ทานเนื้อเป็นหลัก และนิยมใช้ช้อนสั้นโลหะซึ่งสามารถตัดเนื้อได้อยู่แล้ว ช้อนกึ่งส้อมจึงไม่ได้รับความนิยมจากชาวไทยอย่างชาติตะวันตก

(730)