การปรับเวลาเข้าเรียนเพื่อเพิ่มเวลานอน ทำให้เพิ่มความสนใจในการเรียน และเกรดให้สูงขึ้นได้

ปี 2560 เขตการศึกษา Seattle ได้ตัดสินใจชะลอเวลาในการเริ่มต้นชั้นเรียนของโรงเรียนมัธยมจากเวลา 7:50 น. เป็นเวลา 8:45 น. โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อนุญาตให้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Washington and the Salk Institute for Biological Studies ทำการทดลองการปรับเปลี่ยนเวลาเริ่มต้นชั้นเรียนทั้งก่อน และหลัง โดยวัดจากช่วงเวลาการตื่นนอน ผลลัพธ์ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science Advances ปรากฏว่ามีการนอนหลับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 34 นาที ในแต่ละคืน และเกี่ยวโยงกับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน และความสนใจในชั้นเรียนที่เพิ่มขึ้น 4.5%

เขตการศึกษา Seattle, Washington สหรัฐอเมริกา เริ่มชั้นเรียนช้าลง 55 นาที ในโรงเรียนมัธยมสองแห่ง ทำให้เวลานอนของนักเรียนนานขึ้นประมาณ 34 นาที ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น

วัยรุ่นส่วนใหญ่นอนดึก พวกเขามักนอนหลับไม่ถึง 8 ชั่งโมงต่อวัน ด้วยเหตุนี้วัยรุ่นจำนวนมากจึงกลายเป็นคนอดนอนเรื้อรัง ผู้เชี่ยวชาญและองค์กร เช่น American Academy of Pediatrics ได้แนะนำให้ชะลอเวลาในการเริ่มต้นชั้นเรียนซึ่งจะช่วยให้นักเรียนตื่นขึ้นมาเรียนโดยที่ไม่ต้องฝืนลุกมาจากเตียง

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่าการชะลอเวลาในการเริ่มชั้นเรียนเพื่อเพิ่มระยะเวลาการนอนหลับในทุกๆ วัน จะเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา

จากการวิเคราะห์ผลการทดลองก่อน และหลัง จากการปรับเปลี่ยนเวลาในการเริ่มต้นชั้นเรียนของ Seattle School District ให้ล่าช้ากว่าเดิม 55 นาที ในปี 2560 โดยศาสตราจารย์ Horacio de la Iglesia จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ร่วมทำโครงการคือ โรงเรียนมัธยมสองแห่ง ได้แก่ Roosevelt High School และ Franklin High School ใน Seattle เป็นเวลาสองสัปดาห์พบว่า
“เวลาการเริ่มต้นชั้นเรียนมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวิธีการเรียนรู้ และปฏิบัติในการศึกษาของพวกเขา” คำกล่าวจาก ศาสตราจารย์de la Iglesia
“วัยรุ่นมีตารางเวลาของพวกเขาเพียงตารางเดียว คำถาม คือ โรงเรียนจะมีการจัดตารางเวลาให้เข้ากับชีวิตของพวกเขาอย่างไร?”

การปรับเปลี่ยนเวลามีผลประโยชน์ที่วัดได้โดยตรงจากนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาในการนอนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 34 นาที ในปี 2560 เมื่อเทียบกับปี 2559 เวลาในการนอนหลับที่เพิ่มขึ้นนี้เกี่ยวโยงกับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากโรงเรียนทั้งสองที่เพิ่มขึ้นถึง 4.5%

“การศึกษาของเราแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเวลาในการนอนหลับของนักเรียน – ผลลัพธ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการเลื่อนเวลาเข้าชั้นเรียนภายในโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับตางรางชีวิตที่ตื่นตามธรรมชาติของวัยรุ่น” ศาสตราจารย์ de la Iglesia กล่าว

ที่มา : www.sci-news.com

(1423)