ศูนนย์วิจัยนครอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผยข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ อาทิ ตำแหน่ง ทิศทางการเดินทาง และความเร็ว ผ่านเทคโนโลยี Global Positionning System : GPS ที่ติดตั้งกับรถในระบบประมาณ 250,000 คัน พบว่า เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา รถบรรทุกและรถบัสสาธารณะกระทำผิดด้วยการขับเร็วกว่ากำหนดสูงถึง 17,218,811 ครั้ง
สำหรับเส้นทางที่มีการใช้ความเร็วสูงสุด 3 อันดับแรกคือ
- ทางหลวงหมายเลข 7 หรือถนนมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี ช่วงกิโลเมตรที่ 0-6
- ทางหลวงหมายเลข 34 หรือถนนบางนาตราด ช่วงกิโลเมตรที่ 1-8
- ทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย ช่วงกิโลเมตรที่ 7-12
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี ) ออกแบบและก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษไม่มีทางเชื่อมควบคุมการเข้า-ออก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรตลอดสายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ต่อมา ได้มีการรวมแนวเส้นทางเก่าของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 มาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงชลบุรี–พัทยา และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เป็นสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท บริเวณพัทยากลาง เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นการเปิดการจราจรตลอดสาย
ต่อมา กรมทางหลวงได้ขยายช่องจราจรหลักเพิ่มเติมบนถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรี ช่วงถนนศรีนครินทร์–ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็น 8 ช่องจราจร ขยายเข้าหาศูนย์กลางบริเวณร่องน้ำ โครงการนี้มีแนวทางไปทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ชลบุรี ลอดผ่านสะพานเข้า-ออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางเข้า-ออกสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าผ่านข้ามทางรถไฟของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว
อันดับประเทศที่มีประชากรเสียชีวิตบนท้องถนนสูง 10 อันดับแรกของโลก
(5604)