แกรฟีนเปลี่ยนโลก…ตัวช่วยที่จะเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน MIT ได้คิดค้นเทคนิคที่ง่ายและราคาถูก ชื่อว่า แกรฟีน (Graphene) ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนที่เรียงกันเป็นแผ่นระนาบที่มีความหนาเพียง 1 อะตอม พันธะคาร์บอนเชื่อมเป็นโครงข่ายที่แข็งแรงกว่าเหล็กกล้าถึง 1,000 เท่า

เมื่อน้ำเค็มถูกผลักให้เคลื่อนผ่าน แผ่นแกรฟีนโมเลกุลน้ำที่มีขนาดเล็ก จะลอดผ่านช่องมาได้ส่วนโซเดียมไอออนและคลอไรด์ไว้ในแผ่นแกรฟีน นวัตกรรมนี้สร้างความสนใจในอุตสากรรมผลิตน้ำดื่ม อย่างมาก

บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังได้แสดงความคาดหวังว่า จะสามารถพัฒนาการสร้างระบบเมมเบรนของกราฟีนออกไซด์ในขนาดเล็กที่ลงได้ ทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถเข้าถึงประเทศต่างๆ ซึ่งอาจจะไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในการจัดหาเงินทุนให้แก่โรงงานขนาดใหญ่ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำจืด

ภายในปี 2025 องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรโลกร้อยละ 14 จะประสบภาวะขาดแคลนน้ำ

(3822)