ลองนึกภาพว่าคุณเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในทวีปแอนตาร์กติกา
คุณต้องอดทนกับอุณหภูมิที่เย็นจัด การเจาะแกนน้ำแข็งเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลกโบราณของเรา และแน่นอนการโยนน้ำแข็งลงไปในหลุมที่ลึกมากเพื่อฟังเสียง ปิ้ว!!!
ใช่…นั่นเป็นงานอดิเรกที่ผู้คนค้นพบขณะที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ไม่เอื้ออำนวยที่สุดของโลก
ต้องขอบคุณ John Andrew Higgins นักธรณีวิทยาไอโซโทปบน Twitter ซึ่งคุณก็สามารถสัมผัสกับความสุขแปลกๆ นี้ได้เช่นกัน เนื่องจากนักวิจัยได้บันทึกเสียงมหัศจรรย์ของก้อนน้ำแข็งที่ตกลงมาในรูเจาะลึก 137 เมตร (450 ฟุต)
What does a 9 inch ice core sound like when dropped down a 450 foot hole? Like this! Credit to @peter_neff for the idea and @Scripps_Polar, @sciencejenna, @GeosciencesPU, @US_IceDrilling, and @paleosurface for the execution! pic.twitter.com/pW7LxKdbUB
— John Andrew Higgins (@blueicehiggins) February 7, 2020
ทำไมมันฟังดูแปลกๆ
เรามีคำตอบ ขอบคุณสำหรับคำตอบจาก Peter Neff นัก glaciologist ที่อาจเริ่มต้นแนวความคิดของการขว้างน้ำแข็งลงหลุมเจาะที่ยาวมากและบันทึกผลลัพธ์
ย้อนกลับไปในปี 2018 Neff บันทึกชิ้นส่วนของน้ำแข็งที่ตกลงมาในรูเจาะ 90 เมตร (295 ฟุต) และวิดีโอนั้นกลายเป็นกระแส ซึ่งมีผู้ชมกว่า 10 ล้านวิวบน Twitter เพียงอย่างเดียว
🔊🔊Sound ON🔊🔊
When #science is done, it's fun to drop ice down a 90 m deep borehole in an #Antarctic 🇦🇶 #glacier ❄️. So satisfying when it hits the bottom.
Happy hump day. pic.twitter.com/dQtLPWQi7T
— Peter Neff (@peter_neff) February 28, 2018
จากข้อมูลของNeff มีสองปัจจัยที่ทำให้เป็นแบบนี้คือ ปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ของเสียงและการที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปทั่วทั้งหลุม
“สิ่งแรกที่คุณได้ยินเมื่อน้ำแข็งตกลงมาคือระดับเสียงที่เปลี่ยนไป” Neff อธิบายในวิดีโอประกอบ
“นั่นคือปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ของเสียง”
คุณอาจเคยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ของเสียงบ่อยครั้ง นั่นคือเหตุผลที่เสียงของรถแตกต่างกันเมื่อมันมาถึงคุณและห่างออกไปอีกครั้ง ภาพประกอบเล็กๆ น้อยๆ ด้านล่างนี้แสดงให้เห็นว่าความถี่ของคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดที่เคลื่อนไหวนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เมื่อน้ำแข็งลงไปด้านล่าง คลื่นเสียงจากวัสดุที่ตกลงไปนั้นยากที่จะออกมาจากหลุม “เมื่อน้ำแข็งกระทบก้นหลุมเจาะ เสียงจึงสะท้อนไปมาจากด้านข้างของหลุม” Neff อธิบาย และนั่นเป็นเหตุผลที่คุณได้ยินเสียงปิ้ววว!!! นี้
Here’s the story on this crazy sound (V1), plus the basic science @blueicehiggins, myself, & others do studying past climate with #Antarctic ice cores. 🇦🇶🧊❄️ pic.twitter.com/QAtjcxXXGh
— Peter Neff (@peter_neff) February 8, 2020
คุณควรดูวิดีโอทั้งหมดด้านบนเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเสียงรบกวนและข้อมูลที่นักวิจัยวิทยาศาสตร์ได้รับจากการเจาะแกนน้ำแข็งเหล่านี้
นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องย้ำเตือนที่ยอดเยี่ยมว่านักวิทยาศาสตร์มีความคิดสร้างสรรค์สุดยอดและรักที่จะมีความสนุกสนานเช่นเดียวกับพวกเรา และบางครั้งการเล่นสนุกของพวกเขาก็อาจเป็นเพียงการทิ้งน้ำแข็งลงไปในหลุมลึก
ที่มา sciencealert
(38811)