นับว่าเป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตที่ผิดเพี้ยนไป เช่น การติดโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเกินไป การทำงานเป็นกะแบบสลับไปสลับมา โดยส่วนมากจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานในเวลากลางคืน และ จะง่วงนอนในเวลากลางวันทำให้ในตอนกลางวันไม่สดชื่น อ่อนล้าและรู้สึกว่าไม่มีแรงตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวด้วย อันตรายขนาดนี้ควรศึกษากันไว้นะจะได้แก้ไขได้ทันเวลา วันนี้ทาง Real Metro จะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับโรคร่าเริง โรคอันตรายเสี่ยงตายเร็ว!
โรคร่าเริง:กลางคืนไม่อยากหลับ กลางวันไม่อยากตื่น โรคอันตรายเสี่ยงตายเร็ว!
โรคร่าเริงคืออะไร ?
โรคร่าเริง คือ โรคที่เกิดกับพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ที่ผิดธรรมชาติ เช่น ทำงานกลางคืน กลางวันง่วงนอน ส่งผลต่อการทำงานของระบบภายในร่างกาย อันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา ทำให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยน เพราะวงจรชีวิตที่ผิดไปจากปกติ พฤติกรรมเสี่ยงของคนที่เป็นโรคร่าเริง
จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง หากเป็นโรคนี้ ?
1.ตื่นเช้าไม่ค่อยไหว
เมื่อต้องทำงานในตอนกลางคืน ก็จะตื่นเช้าไม่ค่อยไหว
2.ลำไส้มีการทำงานที่ผิดเพี้ยนไป
ร่างกายของคนเรา ถ้าตื่นมาในตอนเช้าลำไส้จะต้องมีการทำงาน แต่หากตื่นสายผิดช่วงเวลาไป ช่วงเวลาที่ต้องมีการกระตุ้นลำไส้ ก็จะไม่ได้ทำ แถมมนุษย์ร่าเริงก็จะข้ามอาหารในมื้อเช้าไปรวมเป็นมื้อเที่ยง ร่างกายคนเราจะมีผลสะท้อนกลับ เพราะการรับประทานอาหารในมื้อเช้าจะเป็นการไปกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการขับถ่าย ถ้าผ่านช่วงเวลาที่ลำไส้ควรได้รับการกระตุ้นไปแล้ว และไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า ก็จะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย
3.โกรทฮอร์โมนไม่หลั่งส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว
ช่วงเวลา 22.00-02.00 น. เป็นช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่เราหลับ เพื่อฟื้นฟูร่างกายมนุษย์ร่าเริง ที่อดหลับอดนอนในช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนจะต้องทำงาน จะทำให้โกรทฮอร์โมนไม่หลั่ง เพราะโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยซ่อมเซลล์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า ฮอร์โมนที่หลั่งในช่วงเวลานี้ จะช่วยควบคุมในเรื่องของความเครียด หากนอนดึกหรืออดนอนในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะทำให้ผิวพรรณดูโทรมไม่สดใส การเผาผลาญพลังงานน้อยลง เพราะฮอร์โมนทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดความอยากในการรับประทานของหวานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้อ้วนง่ายขึ้นตามไปด้วย
4.กลางคืนหลับไม่สนิท
กลางวันง่วงเหงาหาวนอน ไม่สดชื่น เมื่อไม่นอนในช่วงเวลาของการนอนหลับตามปกติ ฮอร์โมนที่ควรจะหลั่งออกมาก็หลั่งได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิท หรือบางคนอาจจะได้นอนหลับบ้าง แต่ก็นอนหลับไม่สินทเหมือนในช่วงเวลาปกติ เมื่อตื่นมาก็จะยังรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนอยู่ และอาจจะรู้สึกง่วงนอนไปตลอดทั้งวัน ยิ่งเหมือนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง และร่างกายไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
5.กลายเป็นคนติดกาแฟไปโดยอัตโนมัติ
เมื่อรู้สึกง่วงในตอนกลางวัน มนุษย์ร่าเริงก็จะหันหน้าไปพึ่งกาแฟ เพื่อต้องการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว ซึ่งในระยะยาวนั้น ก็จะยิ่งทำให้กลายเป็นคนเสพติดกาแฟไปอีก
6.ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเกิดผลกระทบกับร่างกายในระยะยาว
ถ้าปล่อยไปแบบนี้ในระยะยาว มีผลกับการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ เพราะฮอร์โมนมันเพี้ยน ไม่ว่าปัญหาจากเรื่องประจำเดือน เรื่องของสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักตัว รวมไปถึงกลุ่มโรคในการเผาผลาญอาหาร (Metabolic Disorders) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ก็สามารถเกิดตามมาจากผลพวงของอาการร่าเริงไม่ถูกเวลาได้
แนวทางการป้องกันโรค
1.ปรับเวลาในการนอนให้เป็นปกติ
เมื่อถึงเวลานอนก็ควรจะนอนตามปกติ ไม่ควรเกินเที่ยงคืน เพราะโกรทฮอร์โมนจะหลั่งในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. แต่ถ้านอนดึกมากร่างกายจะไม่ได้รับโกรทฮอร์โมน
2.หาเวลาออกกำลังกาย
กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว พบว่าในช่วงเวลากลางวัน ควรเพิ่มการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นโกรทฮอร์โมนเช่นกัน รวมไปถึงฮอร์โมนตัวอื่นๆ ที่จะทำให้ร่างกายมีสดชื่น เช่น การตื่นขึ้นมาในช่วงเช้าและออกกำลังกาย เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เมื่อถึงช่วงเวลากลางวันก็จะทำให้รู้สึกว่ามีพลังในการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น
3.ปรับนิสัยการรับประทาน
เพิ่มเนื้อสัตว์มากขึ้น ลดแป้งให้น้อยลง บางคนจะเลือกทานอาหารที่เป็นแป้งค่อนข้างเยอะ จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนทั้งนี้เป็นเพราะสารที่อยู่ในแป้ง บางคนอาจรับประทานอาหารมื้อเที่ยงที่มีแป้งแบบจัดเต็ม ทำให้ง่วงง่าย ก็ลองปรับการรับประทานอาหาร หันมารับประทานเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น จะทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวมากกว่า แต่สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับไม่ดี อาจหันมารับประทานแป้งในช่วงมื้อเย็น ก็อาจจะช่วยทำให้หลับสบายขึ้น แต่ยกเว้นในกลุ่มคนที่ระวังเรื่องของน้ำหนัก อาจเลี่ยงเป็นการรับประทานอาหารประเภทไฟเบอร์แทน
4.เติมวิตามินปรับสมดุลฮอร์โมน
กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ หากไม่ปรับตารางชีวิตใหม่จะพบว่าฮอร์โมนเกิดการพร่องลงไป แต่หากจะให้ปรับพฤติกรรมแบบทันทีก็คงยาก อาจลองปรึกษาแพทย์ก็อาจจะลองมาตรวจดูว่าค่าฮอร์โมนมันมีการเพี้ยนหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และเราจะพบว่ามีวิตามินบางตัวที่มันช่วยเสริมให้วิตามินตัวนี้ สามารถที่จะกลับมาทำงานได้ดีขึ้น มันก็จะช่วยให้คนสามารถกลับมามีวงจรชีวิตามปกติได้มากขึ้น
5.สร้างสุขนิสัยและวินัยให้ตัวเอง
บางคนติดนิสัยการนอนดึก ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่งานที่ต้องรีบทำส่ง หรือบางคนติดเล่นโทรศัพท์ ติดโซเชียลก็จะเพลิน อย่างน้อยก็ต้องมีวินัย ถึงเวลานอนก็จะต้องนอน
ถ้าหากใครรู้ว่าเริ่มมีอาการตามที่กล่าวไปแล้วนั้น ควรให้ความสนใจกับการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะร่างกายต้องอยู่กับเราอีกนาน และ ที่สำคัญเลยคือ คุณอย่าลืมว่าการทำงานของร่างกายคุณนั้นไม่มีวันหยุด ดังนั้นหันมาสนใจและรักตัวเองให้มากขึ้นตั้งแต่วันนี้
Photo by Ryan Pouncy on Unsplash
Story by Health.Haijai
(9924)